หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

23 ก.พ. 2557

การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.1776

โดย ชยพล แพงศรี

ประเทศสหรัฐอเมริกาเดิมเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศอาณานิคมนั้นตามปกติแล้วจะต้องจ่ายภาษีต่างๆ ให้แก่ประเทศอังกฤษ ซึ่งชนวนของการปฏิวัตินั้นเกิดจากการที่ประเทศอังกฤษเรียกเก็บภาษีจากประชาชนชาวอาณานิคมมากเสียจนประชาชนทนไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจจนเกิดการปฏิวัติ

ในการเรียกเก็บภาษีของประเทศอังกฤษนั้นยกตัวอย่างเช่น ภาษีใบชา ภาษีบำรุงกองทัพ ภาษีที่ดินทำกิน ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากและเกิดการต่อต้านจากประชาชนชาวอเมริกาในระยะแรก หลังจากนั้น มีการเรียกร้องว่าหากอเมริกาไม่มีผู้แทนก็จะไม่จ่ายภาษี

ค.ศ.1778 ชาวอาณานิคมได้พร้อมใจกันประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ อังกฤษจึงได้ส่งทหารมาปราบปรามจึงเกิดเป็นสงครามระหว่างชาวอาณานิคมและประเทศอังกฤษ เรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามประกาศอิสรภาพ

เริ่มแรกมีการประชุมภาคพื้นทวิปเพื่อเตรียมการปฏิวัติ มีการส่งทหารของอังกฤษเข้ามาเพื่อทำการยึดอาวุธ หลังจากนั้นอเมริกาได้แต่งตั้ง จอร์จ วอชิงตัน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอังกฤษได้แต่งตั้ง วิลเลียม โฮว์ เป็นผู้บัญชาการกองทัพปราบกบฏอาณานิคม โดยฝ่ายอาณานิคมเป็นกองทหารผสมมีจำนวนประมาณ 156,000 นาย ซึ่งน้อยกว่าอังกฤษถึงเกือบสองเท่าตัว ฝ่ายอังกฤษมีทหารประมาณ 320,000 นาย โดยในช่วงต้นของสงครามนั้นฝ่ายอาณานิคมเสียเปรียบเพราะทหารไม่มีประสบการอีกทั้งขาดแคลนกำลังคนและอาวุธที่มีประสิทธิภาพ แต่ภายหลังจากที่ตั้งหลักได้ ก็สามารถขับไล่อังกฤษให้ถอยร่นออกไปได้

ทั้งสองฝ่ายผลัดกันรุกผลัดกันรับ โดยฝ่ายอาณานิคมนั้นมีฝรั่งเศสคอยช่วยเหลือทางด้านอาวุธและเสบียง ภายหลังกองทัพฝรั่งเศสได้เข้าร่วมสงครามอย่างเต็มตัว โดยทำยุทธนาวีกับกองทัพเรืออังกฤษที่โรดไอแลนด์และได้รับชัยชนะ และฝ่ายอาณานิคมได้รับชัยชนะแก่กองทัพบกของอังกฤษที่ยอร์กทาวน์ ทำให้อังกฤษต้องประกาศยอมแพ้สงครามในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1781

หลังจากความพ่ายแพ้ของอังกฤษได้เกิดการเจรจจาสันติภาพขึ้น มีการลงนามสนธิสัญญาปารีสในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ.1783 เพื่อเป็นการยอมรับอำนาจอธิปไตยของสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง

ม.ป.ป.การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.1775. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=92825

การปฏิวัติของชาวอเมริกัน ค.ศ.1775. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2557, จาก
http://board.postjung.com/731337.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น