หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

21 ธ.ค. 2561

ไดโอนิซัส (Dionysus) เทพแห่งเมรัยและไวน์องุ่น

โดย ปราณพิชญ์ ปุรัมพกา

องุ่น เป็นผลไม้ที่ถูกค้นพบและได้รับความนิยมมาเป็นเวลามากกว่า 15,000 ปีนอกจากจะมีรสชาติที่แสนอร่อยแล้วยังให้ความมึนเมาสำหรับผู้ที่นำไปทำไวน์ สามารถทำให้คนดีกลายเป็นคนบ้าเสียสติได้ ตามตำนานถูกเล่าขานไว้มีเทพเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกรีกโบราณ ซึ่งก็คือ เทพไดโอนิซัส (dionysus) หรือ แบกคัส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ที่ค้นพบการทำไวน์  และเป็นเทพองค์สำคัญหนึ่งในสิบสองเทพโอลิมปัส



ไดโอนิซัส (dionysus) เป็นบุตรของซูสเทพบดี และ นางสีมิลี ธิดาของแคดมัสผู้สร้างเมืองธีบส์ กับนางเฮอร์ไมโอนี ชีวิตของไดโอนิซัสแม้จะดูมีความสุขหากแต่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด และน่าสงสารเพราะความหึงหวงของเจ้าแม่ฮีราที่มีต่อนางสีมิลี เจ้าแม่ฮีราปลอมตัวเป็นพี่เลี้ยงแก่ของนางสีมิลี และแอบเข้าไปในห้องของนาง พี่เลี้ยงตัวปลอมพยายามชวนนางสีมิลีคุยเรื่องต่างๆนานาและชักโยงไปถึงเรื่องความรักของนาง เจ้าแม่เฮราในร่างพี่เลี้ยงแก่พยายามทำให้นางสีมิลีคล้อยตามและสงสัยในตัวสามีของตน เพื่อให้เกิดความรู้สึกสงสัยว่าชายคนดังกล่าวเป็นเทพซูสจำแลงมาจริงหรือ พี่เลี้ยงแก่ตัวปลอมแนะนำให้นางสีมิลีบอกให้ชายคนดังแสดงตัวตนที่แท้จริง

นางสีมิลีหลงเชื่อในคำแนะนำ เมื่อซูสกลับมานางสีมิลี ได้ทำการสาบานตามที่พี่เลี้ยงตัวปลอมหว่านล้อม นางสีมิลีสาบานโดยอ้างถึงแม่น้ำสติกซ์ให้เป็นพยานว่าโปรดประทานอนุญาตตามคำที่นางขอหนึ่งประการ เมื่อได้สาบานแล้วนางจึงทูลความประสงค์ให้เทพซูสทราบ ซึ่งทำให้ซูสถึงแก่ตกตะลึงเพราะไม่คิดว่านางจะทูลขอในเรื่องนี้ แต่ซูสก็ตระหนักในความจริงข้อหนึ่งดีว่า หากสำแดงองค์จริงให้นางสีมิลีเห็น จะทำให้นางสีมิลีที่เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ แต่ก็จำเป็นต้องทำตามคำสาบานที่นางสีมิลีได้ทูลขอมาโดยไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้ เพราะหากละเมิดต่อคำสาบานที่อ้างถึงแม่น้ำสติกซ์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน ย่อมบังเกิดผลร้ายต่อเทพผู้สาบานทุกองค์ไม่เว้นแม้แต่องค์เทพบดีซูสเอง

สุดท้ายเทพซูสจำยอมเผยร่างแท้จริงให้นางสีมิลีเห็น ทำให้นางนั้นสิ้นชีวิตลงด้วยไฟที่ลุกท่วมซึ่งในขณะนั้นนางกำลังตั้งครรภ์อยู่ แม้จะรักษาชีวิตของนางสีมิลีไว้ไม่ได้ แต่เทพซูสช่วยชีวิตบุตรในครรภ์ของนางไว้ได้ พระองค์จึงบอกแก่นางสีมิลีว่า จะดูแลลูกในครรภ์ของนางส่วนนางก็จะได้รับของขวัญสมใจ แล้วพระองค์จึงได้เปลี่ยนร่างเป็น   เทพซูส จากนั้นเทพซูสจึงได้เก็บทารกเอาไว้ในต้นชานุมณฑลของเทพซูส เมื่อครบเวลากำหนดคลอด ทารกก็สามารถคลอดออกมาได้สำเร็จจากต้นชานุ จากนั้นเทพซูสก็ได้มอบทารกของตนให้นางอัปสรพวกหนึ่งที่มีชื่อว่า ไนสยาดีส (Nysiades) เป็นผู้เลี้ยงดูอนุบาล ซึ่งนางอัปสรพวกนี้ก็ได้เลี้ยงดูเอาใจใส่ทารกผู้น้อยนี้เป็นอย่างดีด้วยความรักใคร่ทะนุถนอม ส่งผลให้เทพซุสโปรดเนรมิตให้พวกเธอได้กลายเป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไฮยาดีส (Hyades)

ส่วนทารกน้อยที่นางอัปสรช่วยเลี้ยงดู มีมีนามว่า ไดโอนิซัส หรือ แบกคัส นั่นเอง จากนั้นก็เก็บทารกเอาไว้ในต้นชานุเมื่อครบเวลากำหนดคลอด ทารกก็สามารถคลอดออกมาได้สำเร็จจากต้นชานุ จากนั้น เทพซุสก็ได้มอบทารกของตนให้นางอัปสรพวกหนึ่งที่มีชื่อว่า ไนสยาดีส (Nysiades) เป็นผู้เลี้ยงดูอนุบาล ซึ่งนางอัปสรพวกนี้ก็ได้เลี้ยงดูเอาใจใส่ทารกผู้น้อยนี้เป็นอย่างดีด้วยความรักใคร่ทะนุถนอม ส่งผลให้เทพซุสโปรดเนรมิตให้พวกเธอได้กลายเป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไฮยาดีส (Hyades) จากนั้นเทพซูสจึงได้ให้พวกนิมฟ์ นางไม้ ดูแลเทพไดโอไนซูส พวกนิมฟ์ ได้สอนให้เทพไดโอไนซูส ปลูกพืชต่างๆ โดยเฉพาะองุ่น

ไดโอนิซัสมีรูปร่างสูงใหญ่ มีรูปงามไม่แพ้เทพองค์อื่นๆ ชอบความรื่นเริง ความสนุกสนาน จนได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งพิธีกรรมความปิติศานติ์ ไดโอนิซัสแต่งกายด้วยผ้าสีขาวคลุมตัวมีเถาไม้เลื้อยพันและมีน้ำผึ้งไหลเป็นหยด ซึ่งถือเป็นไม้ที่มีประโยชน์นอกจากนี้ยังเป็นอาวุธได้ด้วย สามารถใช้ทำลายผู้ที่ต่อต้านลัทธิของพระองค์และเสรีภาพซึ่งพระองค์เป็นตัวแทน สัญลักษณ์แห่งเทพไดโอนิซัส ก็คือ วัวตัวผู้ (Bull) งูใหญ่ (Serpent) ต้นไอวี่และไวน์ (The ivy and wine) และมีพาหนะเป็นเสือดาว ดังจะเห็นภาพของไดโอนิซัสที่มักจะออกมาในรูปของเทพผู้ขี่เสือดาว (Leopard) สวมใส่อาภรณ์เป็นหนังเสือดาว หรืออาจเป็นเทพผู้ทรงราชรถที่ถูกชักลากโดยเสือดำ (Panthers)


ที่มา: https://my.dek-d.com/

พระองค์ยังทรงถูกเรียกว่า ผู้ปลดปล่อย เพราะปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ ไดโอนิซัสสามารถเปลี่ยนคนดีให้กลายเป็นคนบ้าวิกลจริตได้ เพราะไดโอนิซัสค้นพบสุราโดยทดลองนำองุ่นไปหมักเอาไว้ ทำให้ค้นพบน้ำองุ่นที่รสชาติดีอย่างประหลาดที่ยิ่งดื่ม ยิ่งมึนเมา ยิ่งอยากดื่ม ยิ่งสนุกสนาน พระองค์จึงได้เผยแพร่การทำไวน์องุ่นไปทั่วดินแดน  ดังตัวอย่างของสตรีกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เมนาดส์ (Maenads) ถูกพิษของเมรัยเล่นงาน จนทำให้เป็นบ้าเสียสติไปทุกคน พวกนางต่างพากันกระโดดโลดเต้น และร้องรำทำเพลงไปตามป่าอย่างไร้สติด้วยอำนาจของสุรา และบางครั้งก็เข้ามาห้อมล้อมเพื่อติดสอยห้อยตามไดโอนิซัสไปด้วย ในยุคโรมัน หลังจากที่ไดโอนิซัสได้มีนามเป็นภาษาละตินว่า แบกคัส (Bacchus) นางผู้เสียสติเหล่านั้นที่อยู่รอบๆไดโอนิซัสก็ได้รับชื่อใหม่ว่า แบกคันทีส (Bacchantes) เช่นกัน ซึ่งภาพของเทพองค์นี้มักจะเป็นภาพที่ประหลาดกว่าเทพองค์อื่นๆ เพราะจะเห็นเป็นชายหนุ่มรูปงามที่แวดล้อมไปด้วยผู้หญิงบ้าตามติดไปตลอดการเดินทาง

ต่อมาเทพซูสได้รับพระองค์ไปเป็นเทพโอลิมปัสอีกพระองค์ (เทพไดโอไนซัส และเทพีดิมีเตอร์เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่ชาวกรีกและโรมันให้ความเคารพบูชายิ่งนัก) แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของไดโอนิซัสจะเป็นเพียงกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ แต่ไดโอนิซัสก็ได้รับการยอมรับให้เป็นเทพอย่างสมบูรณ์เหมือนกับเทพองค์อื่นๆ อีกทั้งยังมีอมฤตภาพไม่แตกต่างไปจากเหล่าเทพสภาอื่น ๆ บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสด้วย

อย่างไรก็ตาม ไดโอนิซัสหลงรักในการเดินทางท่องเที่ยวไปบนผืนดินอันกว้างใหญ่เป็นชีวิตจิตใจ และไม่ว่าจะไปทางไหนก็ทรงนำพาความชุ่มชื้นแห่งสุราเมรัยติดไปด้วย จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มบุคคลสองกลุ่มที่เคารพและเหยียดนามไดโอนิซุส ทำให้ไดโอนิซัสมีอาวุธประจำตัวที่สามารถเปลี่ยนคนดีให้กลายเป็นคนเสียสติได้เพียงเพราะการดื่มเมรัยที่ทำจากองุ่นเข้าไป

เทพไดโอนิซัส ในเทพนิยายกรีกและโรมัน ถือเป็นทั้งเทพเจ้าแห่งไวน์ รวมถึงเป็นเทพผู้นำความเจริญด้านอารยธรรม (Civilization) ผู้กำหนดกฏระเบียบ (Lawgiver) ผู้รักในสันติภาพ (Lover of Peace) และเป็นผู้รวบรวมเอาความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร (Agriculture) มาไว้ด้วยกัน และยังเป็นเทพที่มีความสำคัญในการละคร (Theater) ด้วย และในบางแห่งก็ขนานนามเทพองค์นี้ว่า “The god of cats and savagery” หรือ “เทพแห่งเหล่าหญิงเลวและคนป่าเถื่อน”


อ้างอิง

เทพไดโอนิซัส (Dionysus) เทพองุ่นและน้ำเมาตำนานดี.สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561, จาก : http://TumnanDD.com

ไดโอนีซุส (Dionysus) เทพแห่งไวน์. สืบค้นเมื่อ23 กันยายน 2561, จาก : http://tamnan-tuadi.blogspot.com

ตำนานเทพปกรณัมกรีก-โรมัน. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561, จาก : http://wanarphapron.wordpress.com

เทพเจ้าแห่งไวน์-ไดอะไน. (2558). สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561, จาก : http://icevanillacream.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น