หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

3 มิ.ย. 2560

จุดจบราชวงศ์ชิง

โดย นายโสรัตน์  สันหา

เป็นเวลากว่า 268 ปี ที่ราชวงศ์ชิงได้ปกครองแผ่นดินจีน มันเป็นยุคที่จีนมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด และทรงอิทธิพลอย่างมาก เเต่เมื่อมองให้ลึกลงไปอย่างละเอียด ราชวงศ์ชิงเป็นยุคที่เสื่อมถอยความเจริญอย่างมาก อีกทั้งภัยจากมหาอำนาจตะวันตกได้เริ่มแผ่ขยายอิทธิพลมายังโลกตะวันออก นำไปสู่เหตุการณ์ที่ทำให้ระบบจักรพรรดิที่ใช้มากว่า 2000 ปีต้องปิดฉากลง

ราชวงศ์ชิงเป็นราชวงศ์ของชาวแมนจู เดิมที่นั้นชาวแมนจูเป็นชนเผ่าเร่รอนที่อาศัยอยู่ในเขตเเมนจูเรีย หรือทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่สภาพแห้งเเล้งและมีอากาศหนาวเย็น

เมื่อครั้งช่วงปลายราชวงศ์หมิง แผ่นดินเกิดความวุ่นวาย เกิดกบฏขึ้นในหลายพื้นที่ ผู้นำเผ่าแมนจู ชื่อ นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้ถือโอกาสรวบรวมกำหลังพล ยกทัพเข้าพิชิตกรุงปักกิ่งอันเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง เปิดศักราชชาวแมนจูปกครองแผ่นดินจีน

ในช่วงต้นราชวงศ์ชิงปกครองจีนอยู่นั้น ได้เกิดกบฏอยู่บ่อยครั้งอันเนื่องมาจากชาวฮั่น ไม่พอใจที่ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นชาวเเมนจูเข้ามาเป็นใหญ่ ดังนั้นในช่วงแรกจึงได้มีการใช้นโยบายที่ประนีประนอมเพื่อให้เกิดสันติสุข และแข็งกร้าว เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการกบฏ

ในช่วงต้นของการเข้าปกครอง จักรพรรดิหลายพระองค์ได้แสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพของกองทัพแมนจู ได้มีการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทางทิศเหนือมีพื้นที่ครอบคลุมเขตแมนจูเรีย มองโกเลีย ทางตะวันตกสามารถพิชิตดินแดนของชาวทิเบต และชาวอุยกูร์  ดังนั้นในช่วงยุคต้นของราชวงศ์ชิงจึงเป็นช่วงที่มีความรุ่งเรืองอย่างมาก

แต่แล้วราชวงศ์ชิงก็ไม่อาจควบคุม และรักษาเสถียรภาพของประเทศไว้ได้ ดังคำโบราณว่าไว้ สถานการณ์ในแผ่นดินนี้ เมื่อแตกแยกมานานก็จะรวมสมาน รวมสมานมานานก็จะแตกแยก หลังรัชสมัยของพระเจ้าเฉียนหลง

(1711–1799) ราชวงศ์ชิงเริ่มอ่อนแอและความเจริญรุ่งเรืองลดลง เกิดปัญหาในประเทศมากมายทั้งปัญหาการทุจริตของข้าราชการ ท้องพระคลังเริ่มขัดสนอันเนื่องมาจากการทำสงครามในช่วงยุคแรกๆ ปัญหาภัยธรรมชาติและขาดที่ดินทำกิน ประกอบกับชาติมหาอำนาจในยุคล่าอาณานิคม ที่ราชวงศ์ชิงไม่อาจทานได้เพราะระบบการปกครอง และเศรษฐกิจที่ล้าสมัย

ประเด็นสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ตกต่ำลงนั้น เห็นจะเป็นความล้าหลังทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การทหาร เทคโนโลยี เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนคือ สงครามฝิ่นครั้งที่ 1 (1711–1799) ผลของสงครามคือจีนพ่ายแพ้ต่ออังกฤษ อย่างหมดรูป แสดงให้เห็นว่า กองทัพของจีนล้าหลัง และไร้ประสิทธิภาพกว่าของทัพอังกฤษ


กองเรือสหราชอาณาจักรรบกับกองเรือสำเภาของจีน

การที่จีนรบแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่นครั้งแรกนั้นทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมและต้องสูญเสียฮ่องกงให้แก่อังกฤษ และยกเลิกระบบการค้าแบบกวางตุ้งให้เป็นแบบเสรีในเมืองแถบชายฝั่งทะเล และเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ในช่วงนั้นท้องพระคลังเริ่มขาดแคลนจึงขูดรีดภาษีจากประชาชน ทำให้ประชาชนอดอยาก สังคมเริ่มวุ่นวาย ไร้ความสงบสุข ประชาชนเริ่มรวมตัวต่อต้านอำนาจรัฐกลายเป็นกบฏไท่ผิงขึ้น

รัฐบาลชิงใช้เวลาหลายปีในการจัดการกบฏไท่ผิง จนกระทั่งปี 1864 จึงปราบปรามสำเร็จ แต่ปัญหาใหม่ของรัฐบาลราชวงศ์ชิงก็เริ่มปรากฏให้เห็นอีกมากขึ้นเรื่อยๆ

ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเพื่อนบ้านของจีนได้ทำการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย และยังมีความต้องการขยายอิทธิพลเข้าสู่ภาคพื้นทวีป ผ่านทางเกาหลี รัฐบาลราชวงศ์ชิงให้ให้ความคุ้มครองเกาหลีจึงต้องส่งทหารเข้าร่วมการรบในสงครามจีน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1  ผลของสงครามคือญี่ปุ่นชนะ ราชสำนักชิงต้องยกเกาหลี  ไต้หวัน และชดเชยค่าทำปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ทำให้มีการขูดรีดภาษีจากประชาชนหนักขึ้นไปเรื่อยๆ

จักรพรรดิกวางสู (1875–1908) จึงเริ่มตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยอย่างยุโรป คังโยวเหวย นักปฏิรูปคนสำคัญชาวจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ได้เสนอแผนการปฏิรูปประเทศให้เข้มแข็ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิกวางสูเป็นอย่างดี แต่ล้มเหลวเนื่องจากพระนางซูสีไทเฮาซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน กุมอำนาจว่าราชการมาตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิพระองค์ก่อน พระนางทรงคัดค้านเพราะเห็นว่าการปฏิรูปนั้นจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี การปฏิรูปจึงดำเนินได้แค่เพียง  100  วัน

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ย่างเข้าสู่ศตวรรษที่  20 แรงกดดันต่อราชสำนักมีมากขึ้น มีทั้งฝ่ายที่ต้องการให้มีจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญ กับฝ่ายที่ต้องการล้มล้างราชวงศ์  เพื่อเป็นการลดแรงกดดันของประชาชน ราชสำนักชิงเลือกที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น อีกทั้งยังได้สถาปนาจักรพรรดิพระองค์ใหม่ “ปูยี”


รูป จักรพรรดิปูยีขณะถ่ายภาพในพระราชวังต้องห้าม
ที่มา : https://www.findagrave.com/

แต่ร่างรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้นกลับสร้างความผิดหวังแก่ประชาชนอย่างมาก เพราะว่าได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่เป็นเชื้อพระวงศ์ชิงจำนวนมาก สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างมาก ความกดดันที่ต้องล้มล้างราชวงศ์ชิงจึงมีมากขึ้น

ใน 1911 จึงได้มีการบีบให้จักรพรรดิปูยีสละราชสมบัติ ขณะนั้นทรงมีอายุเพียง 6 พรรษา ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานหลายพันปี ส่วนประเทศจีนก็ยังคงเดินหน้าต่อไปภายใต้การปกครองแบบสาธารณะรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำรัฐบาล

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการล้มล้างราชวงศ์ชิงนั้น มีอยู่หลายประการแต่ประเด็นสำคัญสุดคือการที่ชนชั้นสูงในราชสำนักละเลยต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งหลายคนยังคงยึดมั่นในหลักการแบบขงจื้อในการบริหารบ้านเมือง ตรงกันข้ามกับญี่ปุ่นที่มีความทะเยอทะยานที่จะปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและทัดเทียมกับชาติอื่นๆ จนสามารถกลายเป็นมหาอำนาจได้

การล้มล้างราชวงศ์จึงเป็นความหวังที่จะทำให้ประเทศหลุดพ้นจากความล้าหลัง แต่จีนก็ยังคงไม่ประสบความสำเร็จที่จะพัฒนาตนเองให้ทันสมัยทันเทียมกับนานาชาติ เพราะปัญหาภายในที่ยังคงมีอยู่ประกอบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การพัฒนาประเทศต้องหยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง

ตลอดระยะเวลากว่า 260 ปีที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองประเทศจีน เป็นยุคที่โลกเริ่มมีการติดต่อ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันอย่างแพร่หลาย องค์ความรู้ วิทยาการ อุดมการณ์ทางการเมือง จากตะวันตกได้ไหล่บ่ามายังโลกตะวันออก เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โลกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายชาติต้องตระหนักอย่างมาก

การปฏิรูปเมจิในญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 18 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์โลกนั้นจึงจะทำให้ชาติบ้านเมือง รวมไปถึงราชวงศ์นั้นอยู่รอดต่อไปได้ ในทางกลับกันราชสำนักชิงกลับไม่ได้ใส่ใจถึงเรื่องการปรับปรุงตนเองให้สอดคล้องกับความเป็นไปของสถานการณ์โลก จึงเป็นเหตุที่ทำให้สิ้นสุดเกียรติยศ ความเกรียงไกรของราชวงศ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมเอาไว้


อ้างอิง

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. (2553). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง

แฟร์แบงค์, เจ. เค., ไรเชาเออร์, อี. โอ., และ เคร็ก, เอ. เอ็ม. (2525). เอเชียตะวันออกยุคใหม่ เล่ม 1 (เพ็ชรี สุมิตร, ผู้แปล) กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์. (ต้นฉบับปี 1965)

หวัง, หลง. (2559). ราชสำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา (เขมณัฎฐ์ ทรัพย์เกษมชัย และ สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง, ผู้ แปล). กรุงเทพฯ: มติชน. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2010)

อั้ยชิง เจี่ยวหรอ ฟู่อี้. (2533). จากจักรพรรดิสู่สามัญชน. (ยุพเรศ วินัยธร, ผู้แปล) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น