หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

2 มิ.ย. 2560

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช เเห่งจักรวรรดิรัสเซีย

โดย หัสดิน  แผ่วสูงเนิน

ในสมัย “จักรวรรดิรัสเซีย” นั้นไม่ อาจปฏิเสธได้ว่ากษัตริย์ที่ทำให้จักรวรรดิแห่งนี้มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่เท่าชาติมหาอำนาจกับทางยุโรปตะวันตก และได้มีการขยายดินแดนไปได้ไกล มีความมั่นคงอย่างมากจนได้เป็นจักรวรรดิที่ทรงอิทธิพลของยุโรป ได้คือ พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1672 ที่มอสโกอาณาจักรซาร์รัสเซีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าซาร์อเล็กซิสที่ 1 กับซารีนานาตัลยา นารีสกีนา พระมเหสีองค์ที่ 2 พระมารดาของพระองค์ พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ที่ 1ทรงครองราชย์ 7 พฤษภาคม 1682 ถึง 2 พฤศจิกายน 1721 พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ  เป็นคนที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและมีความจำเป็นเลิศ  และเนื่องด้วยพระมารดา พระนางนาตาเลียทรงเป็นธิดามาจากครอบครัวขุนนางที่มีรสนิยมไปทางประเทศทางยุโรปตะวันตก  พระเจ้าซาร์ปีเตอร์จึงมีความสนใจในวัฒนธรรมยุโรปตะวันตกเรื่อยมา


ที่มา : https://th.wikipedia.org/

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 (Peter I) ทรงมีรูปลักษณ์ที่เด่นชัดคือ พระองค์สูงเกือบ 7 ฟุต และพระองค์ทรงเฉลียวฉลาด ทรงมีความอยากรู้อยากเห็นและช่างสังเกต ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมา เมื่อพระองค์มีอำนาจที่แท้จริง (เนื่องจากช่วงครองราชย์พระองค์มีพี่น้องครองราชร่วมกัน และมีพระเชษฐภคีโซเฟียเป็นผู้สำเร็จราชการ) พระองค์จึงเปลี่ยนแปลงรัสเซียอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อาณาจักรรัสเซียขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิแนวหน้าของยุโรป

ในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้างรัสเซียให้เป็นรัฐทันสมัยตามแบบอย่างอารยธรรมตะวันตก โดยการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจ การปกครอง  สังคมและวัฒนธรรม ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ พระองค์จัดระบบพาณิชย์นิยมของตะวันตก โดยการห้ามนำสินค้าต่างประเทศเข้ารัสเซียและส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศ เช่น การทอผ้า การต่อเรือ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการเปิดประเทศต้อนรับช่างผู้ชำนาญการสาขาต่างๆให้เข้ามาลงทุนในรัสเซีย ในช่วงเวลา20ปี กรุงมอสโกได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นประมาณ 200แห่งและขนาดเล็กประมาณมากกว่า2500แห่ง  นอกจากนี้ยังมีการเรียกเก็บภาษีบางชนิดที่ไม่เคยเก็บมาก่อน

ด้านการปกครอง พระองค์แบ่งการปกครองเป็น 6 เขต ได้ส่งข้าหลวงซึ่งเป็นคนสนิทของซาร์ออกไปประจำการ ข้าหลวงดังกล่าวมีอำนาจสูงสุดในเขตแดน การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในลักษณะนี้เป็นการลดอำนาจของขุนนางในท้องถิ่น และต่อมาได้มีแบ่งเขตออกเป็น 45 มณฑลปกครองโดย นายทหารข้าหลวง ในส่วนขุนนางได้ยกเลิกระบบยศแบบเก่าและเข้าแทนด้วยการเรียกยศแบบตะวันตกแทนและขณะเดียวกันพระองค์ท่านได้จัดตั้งสภาองคมนตรีเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา

ด้านสังคม ชาวนา มีหน้าที่ผลิตพืชผลทางการเกษตรละอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ในด้านประชาชนที่อาศัยภายในเมืองจะถูกแยกเป็นพวกทำการค้า กับช่างฝีมือ พวกทำการค้าต้องเข้าสังกัดในองค์กรพ่อค้า ในส่วนช่างฝีมือต้องเป็นสมาชิกขององค์กรช่างฝีมือต่างๆตามที่คนถนัดในชนชั้นขุนนางถูกบังคับให้โกนหนวดเคราและแต่งเครื่องแบบตามชาวยุโรปตะวันตกพร้อมทั้งต้องแสดงความกระตือรือร้นที่จะศึกษาและรับความเจริญใหม่ๆในการรับราชการขุนนางจะได้รับที่ดินพร้อมด้วยชาวนาเป็นรางวัลตอบแทนรวมทั้งบรรดาศักดิ์และพระองค์ได้ทำสงครามขยายดินแดนเพื่อจุดสงค์ที่พระองค์รักนั่นคือการสร้างกองทัพเรือเพื่อติดต่อค้าขายและขยายอิทธิพล แล้วพระองค์ได้ทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงคือการย้ายเมืองหลวงไปที่ กรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เป็นเมืองหลวงใหม่ที่ซึ่งมีพระราชวังคล้ายกับพระราชวังแวร์ซายของฝรั่งเศส

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ เสด็จสวรรคต เมื่อพระชันษาได้ 52 ปีจากการที่พระเจ้าซาร์ได้พยายามว่ายน้ำไปช่วยเหลือพลเมืองที่กำลังจมน้ำ ส่งผลให้พระองค์เสด็จสวรรคตในเวลาต่อมา รวมระยะเวลาครองราชสมบัติได้ 42 ปี

เราอาจจะกล่าวได้ว่าพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของรัสเซีย ทรงเปลี่ยนอาณาจักรที่ชาวยุโรปตะวันตกเรียกว่าบ้านนอก ให้กลายเป็น จักรวรรดิที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน เศรษฐกิจ การทหาร การปกครอง รวมไปถึงการทำสงครามเพื่อขยายดินแดน ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงทำลายระบบวัฒนธรรมเก่าๆและนำวัฒนธรรมยุโรปตะวันตกมาใช้แทนทำให้จักรวรรดิรัสเซียเป็นประเทศที่มีความสามารถเทียบเท่ากับประเทศมหาอำนาจในยุโรปตะวันตกก็ว่าได้

อ้างอิง

อนันตชัย จินดาวัฒน์ . (2556). ประวัติศาสตร์ยุโรป. กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช, สืบค้นเมื่อ 14มกราคม2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

สารคดี บัลลังอำนาจ พระเจ้าซาร์ปีเตอร์, สืบค้นเมื่อ 14มกราคม2560, จาก https://www.youtube.com/watch?v=E_LIOjhnPZM

สารคดี ก่อร่างสร้างอาณาจักร-รัสเซีย, สืบค้นเมื่อ 14มกราคม2560, จาก https://www.youtube.com/watch?v=557yy0Exu4A

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น