หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

26 ธ.ค. 2559

เจ้าหญิงไดอาน่า (Princess Diana)

โดย ประภัสสร สลับศรี


เรื่องราวของสตรีผู้สูงศักดิ์ท่านหนึ่ง ที่ผู้คนรู้จักทั่วโลก ผู้ซึ่งสวยทั้งรูป งามวาจา และยังมีจิตใจที่ดี ตลอดจนมีคุณสมบัติที่ดีเพียบพร้อมและได้เป็นถึงเจ้าหญิงแห่งเมืองผู้ดี ตามฉายาที่หลายคนเรียกขานกัน แม้ชีวิตจะเคยพลิกผันผ่านอุปสรรคมากมายตั้งแต่เด็ก แต่เธอก็ขึ้นชื่อว่า “เจ้าหญิงแห่งเวลส์”ที่ผู้คนให้ความสนใจทั่วโลกและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงเสมือนโลกใหม่ในสมัยนั้น

เลดี้ไดอาน่า เกิดเมื่อวันเสาร์ ที่1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 หรือค.ศ.1961 ที่คฤหาสนปาร์กเฮ้าส์ เมืองแซนดริงแฮม ในกรุงลอนดอน ซึ่งมีชื่อเรียกเต็มๆว่า ไดอาน่า ฟรานเซส สเปนเซอร์  เลดี้ไดอาน่าเป็นลูกของตระกูลขุนนางอังกฤษ พ่อมีชื่อสามัญว่า จอห์นนี่ (จอห์น สเปนเซอร์) ต่อมาเป็นเอิร์ล สเปนเซอร์ที่ 8 และแม่ของไดอาน่าชื่อ ฟรานเซส  ครอบครัวผู้ดีตระกูลนี้มีบุตรทั้งหมด5คน ได้แก่ ซาราห์ เจน ไดอาน่า จอห์นและชาลส์ (ไดอาน่านั้นเป็นบุตรคนที่ 3) ชีวีตของไดอาน่าพลิกผันมาตั้งแต่เด็ก เมื่อพ่อกับแม่ทะเลาะกันจนถึงขั้นได้หย่าร้างกัน และลูกๆก็ได้อยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของผู้เป็นพ่อ


ที่มา: http://www.playbuzz.com/

ไดอาน่ามีอายุ 8 ขวบ ได้ถูกส่งไปอยู่ที่โรงเรียนประจำที่ริดเดิลส์เวิร์ทในนอร์ฟอร์ก โรงเรียนประถมที่มุ่งอบรมลูกผู้ดีให้เป็นสุภาพสตรี มีการสอนอบรมมารยาทนอกเหนือจากวิชาสามัญ ไดอาน่ามีความโดดเด่นด้านกีฬาได้เป็นหัวหน้านักกีฬาและได้ถ้วยรางวัลมากมาย ซึ่งสวนทางตรงข้ามกับด้านวิชาการซึ่งไดอาน่านั้นเรียนไม่เก่งจนถึงขั้นไปเรียนต่อระดับโรงเรียนมัธยมที่เวสต์ฮีท ก็สอบตกทุกวิชา แต่ไดอาน่าก็สามารถจบจากโรงเรียนนี้ด้วยอายุ16ปี เมื่อ พ.ศ 2520 ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรเป็นรางวัลมิสคลาร์ก ลอว์เรนซ์ ฐานะผู้ช่วยเหลืองานโรงเรียนดี ไดอาน่าไม่ได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย แต่เอาดีทางด้านวิชาการบ้านการเรือนแทน โดยเรียนจบภายในระยะเวลา 1 ปี ที่สถาบันไวดีมาเน็ต ในเมืองร็อกมองต์ สวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาในปี 2522 ไดอาน่าได้กลับมาบ้านเกิดที่กรุงลอนดอน ทำงานเป็นพี่เลี้ยงดูแลลูกให้สามีภรรยาอเมริกัน จากนั้นได้งานเป็นครูประจำโรงเรียนอนุบาลยัง อิงแลนด์ สคูล

ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลล์ พระนามของไดอาน่าที่เปลี่ยนไปได้กลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่สนใจจากผู้คนทั่วโลก  ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเลดี้ไดอาน่า สาววัย 16 ปี กับเจ้าฟ้าชายชาลส์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เจ้าชายเสด็จไปหาบ่อยครั้งและได้ออกเดทอย่างเป็นทางการ จนตกเป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เรื่อยๆ แต่ด้วยคุณสมบัติที่เพียบพร้อมของเลดี้ไดอาน่า สำนักพระราชวังไม่ขัดข้องความสัมพันธ์ของทั้งสอง

เลดี้ไดอาน่าหมั้นกับเจ้าฟ้าชายชาลส์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2524 และเข้าพิธีอภิเษกสมรสในวันที่ 29 กรกฎาคม มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ในปีเดียวกัน การปรากฏตัวของเจ้าหญิงไดอาน่าได้รับความสนใจไปทั่วโลก พระสิริโฉมงดงาม มีบุคลิกและเอกลักษณ์ที่น่าตรึงตราตรึงใจแก่ประชาชนทั่วโลก กล่าวได้ว่าใต้หล้านี้ไม่มีผู้ใดโดดเด่นไปกว่าเจ้าหญิงไดอาน่าแห่งเวลส์ พระองค์ทรงเป็นผู้นำเทรนด์ แฟชั่น และนำมาซึ่งความสดใสแห่งวัยสาวเข้าสู่ราชสำนักในสมัยนั้น เจ้าหญิงไดอาน่าทรงได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมากและ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธก็ทรงได้รับการยกย่องจากพสกนิกรด้วยเช่นกัน


ที่มา: http://www.playbuzz.com/

หลังจากเข้าพิธีอภิเษกสมรสไม่นาน สำนักพระราชวังบักกิงแฮมออกแถลงการณ์เรื่องการตั้งพระครรภ์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ในวันที่5 พฤศจิกายน 2524  เจ้าหญิงไดอานามีพระประสูติกาลพระโอรสและรัชทายาทองค์แรกในวันที่ 21 มิถุนายน 2525 โดยมีพระนามเต็มว่า เจ้าชายวิลเลียม อาร์เธอร์ ฟิลิป -หลุยส์ และทรงมีพระโอรสองค์ที่สองมีประสูติกาลในวันที่ 15 กันยายน 2527 และพระนามเต็มว่า เจ้าชายเฮนรี ชาลส์ อัลเบิร์ต เดวิด ซึงการที่เจ้าหญิงแห่งเวลส์มีพระประสูติกาลพระโอรสและรัชทายาททั้งสองพระองค์เป็นที่พอพระทัยของพระราชินีและพระราชสำนักอย่างมาก

เจ้าหญิงไดอาน่าทรงเริ่มปฏิบัติพระกรณียกิจงานด้านต่างๆและตอบแทนสังคม ตั้งแต่ทรงอภิเษกกับเจ้าฟ้าชายชาลส์ในปี พ.ศ.2524  อาทิ การเสด็จเยี่ยมโรงพยาบาลต่างๆ เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเวสต์ฮีธที่พระองค์เคยศึกษา ทรงให้ความสนพระทัยกิจกรรมอาสาสมัคร เสด็จเยี่ยมผู้ป่วยโรคเอดส์และโรคเรื้อน นอกจากนี้เจ้าหญิงยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อุปถัมภ์องค์การกุศลเพื่อคนไร้บ้าน เด็ก ผู้ติดยา และผู้สูงอายุ รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็กเกรทออร์มันด์สตรีท และยังร่วมสนับสนุนโครงการต่อต้านการใช้กับระเบิด และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปลายปี 2540


ที่มา: http://www.playbuzz.com/

เรื่องราวร้าวรักระหว่างเจ้าหญิงกับเจ้าฟ้าชายชาลส์เริ่มปรากฏแก่สาธารณชน โดยทั้งสองพระองค์เริ่มมีรอยร้าวและความขัดแย้งตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา ด้วยวัยที่แตกต่างกันเกือบ 10 กว่าปี สังคมแวดล้อมบทบาทหน้าที่ ทัศนะคติ พฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไป ทำให้เห็นความต่างระหว่างทั้งสองพระองค์อีกทั้งความไม่เข้าใจไม่ลงรอยซึ่งกันและกันทำให้เกิดระยะห่างและเกิดช่องว่างระหว่างรักให้สร้างความสัมพันธ์ที่มักจะมีบุคคลที่สามเข้ามา ซึ่งสามรารถนำมาสู่ความสัมพันธ์ครั้งใหม่กับเพื่อนเพศ โดยเจ้าฟ้าชายชาลส์ก็ได้สนิทสนมกับคนรักเก่า คามิลล่า ปาร์เกอร์ โบลล์ และเพื่อนบรรดาสาวในสังคม ส่วนเจ้าหญิงไดอาน่าเองก็ไปสนิมสนมกับครูสอนขี่ม้า และเพื่อนๆกลุ่มของพระองค์เอง ความรักความสัมพันธ์ของเจ้าหญิงกับเจ้าชายก็ได้สั่นคลอนลงจนถึงขั้นหย่าร้างกันในที่สุด โดยการหย่าขาดเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 28 สิงหาคม 2539 และสำนักพระราชวังได้ประกาศให้ไดอานาพ้นจากสถานะชายาของเจ้าชายแห่งเวลส์ สูญเสียอิสริยศชั้นเจ้าฟ้า ใช้แต่เพียงพระนาม ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ หลังจากเจ้าหญิงทรงหย่าแล้วเจ้าหญิงเองก็พบรักครั้งใหม่กับศัลยแพทย์ทรวงอก ฮาสนัท ข่าน ที่เจลุม ประเทศปากีสถานและได้เลิกลากันเพราะเหตุผลทางศาสนาและเดือนเดียวกันไดอานามีรักครั้งใหม่กับโดดี อัล ฟาเยด ลูกชายของมหาเศรษฐี โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด

ไม่มีอีกแล้วเจ้าหญิงไดอาน่า จากอุบัติเหตุในอุโมงค์กลางกรุงปารีส นำมาสู่การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิง พร้อมด้วยโดดี อัลฟาเยด์ และผู้ติดตามเสียชีวิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ โดยการสิ้นพระชนม์ครั้งนี้หน่วยสืบสวนสอบสวนของฝรั่งเศสสรุปว่าเป็นอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทของคนขับรถขับด้วยความเร็วหลบหนีสื่อมวลชน แต่ก็ยังมีการนำคดีมีไต่สวนใหม่ในศาลอังกฤษ ก็ยังสรุปสำนวนเดิม จากความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และเพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่เจ้าหญิงและผู้เสียชีวิต รวมถึงครอบครัว คนรอบข้างจึงสิ้นสุดคดีมรณกรรม และจัดพิธีศพของเจ้าหญิงไดอานาถูกจัดขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ในวันที่ 6 กันยายน 2540 ซึ่งการจากไปกะทันหันครั้งนี้สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวโลกเป็นอย่างมาก

จากเรื่องราวของไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทำให้เห็นภาพสะท้อนหลายสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ชีวิตของไดอาน่าก่อนที่จะมาเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ก็ผ่านอุปสรรคมีจุดเปลี่ยนตั้งแต่ยังเด็กด้วยความไม่สมบูรณ์ของทางครอบครัว ขาดความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่เลี้ยงดูของผู้ปกครอง ส่งผลให้ภูมิต้านทานที่จะนำมาใช้เรียนรู้อยู่กับโลกภายนอกน้อย อีกทั้งยังเป็นชีวิตที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น วัยหัวเลี้ยววัยต่ออยู่แต่กลับได้ขึ้นเป็นเจ้าหญิงที่ต้องอยู่กับกฎระเบียบ ปฏิบัติตนให้สมควรในฐานะของตนเอง อาจทำให้เกิดอาการกดดัน เก็บกด  อีกทั้งยังพบเจอกับความรักที่ต่างด้วยวัย วุฒิภาวะ มุมมองชีวิตของเจ้าหญิงไดอาน่าเป็นชีวิตที่หญิงสาวหลายคนปรารถนา เสมือนดั่งเทพนิยาย เปรียบเหมือนอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ที่หลายคนชื่นชอบ  แต่สุดท้ายก็รักก็สั่นคลอนและพบจุดจบของความรักในที่สุด ความรักนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น เจ้าหญิงไดอาน่าที่คนทั้งโลกชื่นชอบและรักพระองค์เพราะท่านทรงงานช่วยเหลืออุปถัมภ์ สงเคราะห์คนยากไร้ จัดตั้งองค์กรต่างๆเพื่อประชาชน ขจัดทุกข์บำรุงสุขเพื่อผู้คน ด้วยความที่ทรงเป็นเจ้าหญิงที่เลอโฉม งามทั้งภายในและภายนอกแท้จริง แม้ในปัจจุบันนี้เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์แล้ว แต่เมื่อได้ยินชื่อของพระองค์ เชื่อว่าเจ้าหญิงไดอาน่ายังอยู่ในความทรงจำและตราตรึงในและคุณความดี เลื่องลือความงามอยู่ในใจทุกคนทั่วโลกเสมอ


อ้างอิง

พิเชียร คุระทอง. 2537. เบื้องหลังน้ำผึ้งขมร้าวรักชาลส์-ไดอาน่า. กรุงเทพฯ : มติชน

นฤพนธ์ สุดสวาท. 2556. หัวใจที่ไม่เคยชนะความรักไดอาน่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/368339

วรรธนา วงษ์ฉัตร. (มปป.). ไดอาน่าเจ้าหญิงในดวงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : น้ำฝน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น