หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

26 ธ.ค. 2559

ไซรัสมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเปอร์เซีย

โดย ปาวิสา บุญจูง

เปอร์เซียมหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่ครอบครองพื้นที่มากที่สุดในดินแดนเมโสโปเตเมีย การได้มาซึ่งมหาอำนาจและความยิ่งใหญ่ย่อมมีผู้นำอันแข็งแกร่ง น่าเกรงขาม และชาญฉลาด นั่นก็คือ พระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้ซึ่งถูกขนานนามว่า “กษัตริย์ผู้ครอบครองแผ่นดินทั้ง 4 ทิศ ( King of the Four Corners of the world) ”  พระปรีชาสามารถของพระองค์เป็นที่เลื่องลือในเขตตะวันตก ด้วยพระองค์ทรงเป็นนักปกครอง
ผู้ทรงธรรม และเห็นซึ่งความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

พระเจ้าไซรัสประสูติเมื่อ 600 หรือ 576  ปี ก่อนคริสตกาล ณ มณฑลอัน-ชาน (Anshan) ในอาณาจักรเปอร์เชีย พระบิดาคือ พระเจ้าคัมไบซีสที่ 1  (Cambyses I) แห่งเปอร์เซีย และพระมารดาคือ พระราชินีมานเดนแห่งอาณาจักรมีเดีย (Mandane of Medes)  ณ วันที่พระองค์ประสูตินั้น กษัตริย์ออสเตรียเจสแห่งอาณาจักรมิเดียได้มีบัญชาให้ทหารฆ่าทารกที่เกิดในวันดังกล่าวทั้งหมด เนื่องจากทรงนิมิตว่าจะถูกยึดครองบัลลังค์โดยเด็กคนนี้ ซึ่งพระเจ้าไซรัสก็ถูกนำไปฆ่าเช่นเดียวกัน ชาวบ้านคู่หนึ่งซึ่งถูกมอบหมายให้ประหารพระองค์โดยให้นำไปปล่อยทิ้งในป่า เกิดความเมตตาและสงสารจึงได้เก็บพระองค์ไว้และเลี้ยงดูโดยไม่ให้ใครรู้ จนกระทั่งทรงมีพระชนม์มายุครบ 10 ชันษา กษัตริย์ออสเตรียเจสได้มาพบกับไซรัสแล้วเกิดความสงสัยว่าไซรัสเป็นใครจึงได้สอบถามและทราบว่าแท้จริงเป็นหลานของตนที่จะต้องถูกฆ่าในวันนั้น กษัตริย์ออสเตรียเจสจึงได้อนุญาตให้ไซรัสกลับเข้ามาอยู่กับพระบิดาและพระมารดาได้ ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกกับ คาสซาเดน และมีบุตรด้วยกัน 4 คนได้แก่ คัมไบเซสที่ 2, บาร์ดิย่า, อตอสซ่า,และอีกหนึ่งคนที่ไม่ทราบชื่อ



พระเจ้าไซรัสขึ้นครองพระราชสมภพเมื่อ ปีที่ 559 ถึง 530 ปีก่อนคริสตกาล โดยพระเจ้าคัมไบเซสได้เล็งเห็นพระปรีชาสามารถของพระเจ้าไซรัสจึงได้สละราชสมบัติ และพระเจ้าไซรัสขึ้นปกครองเปอร์เชีย  แต่เดิมนั้นชนชาติเปอร์เชียเป็นชนเผ่าเดียวกันแต่ทั้งสองก็แยกออกจากกันเป็น มิเดีย (Media) และเปอร์เชีย หรืออันชาน( Persia or Anshan) โดยอาณาจักรมิเดียถือตนเองเป็นชนชั้นสูงและมีอำนาจเหนืออาณาจักรเปอร์เชียเพื่อมีจำนวนคนมากกว่า  พระเจ้าไซรัสจึงทรงริ่เริ่มทำการปรับปรุงอาณาจักรเปอร์เชียและกองทัพทหารให้เข้มแข็ง โดยทรงมีความคิดที่จะขยายอาณาเขตและอำนาจ โดยมีเป้าหมายแรกคืออาณาจักรมีเดีย  กองทัพของพระเจ้าไซรัสนั้นได้ชื่อว่า “กองทัพอมตะ (Immortal) เป็นกองทัพที่แกร่งที่สุดและไม่เคยมีการลดจำนวนพลทหารจาก 10,000 คนแต่อย่างใด

พระเจ้าไซรัสได้เริ่มแผนการเข้ายึดอาณาจักรมิเดียโดยการผูกสัมพันธ์กับอาณาจักรบาบิโลน เมื่อกษัตริย์ออสเตรียเจสแห่งอาณาจักรมิเดียทรงทราบก็กริ้วเป็นอย่างมากและเรียกให้พระเจ้าไซรัสไปอธิบายแต่พระเจ้าไซรัสไม่ไป นี้จึงก่อให้เกิดสงครามขึ้น ต่อมาพระเจ้าไซรัสจึงได้เข้าโจมตีกรุงแอคบาตาน่า และโค่นกษัตริย์ออสเตรียเจสได้สำเร็จ แต่ไม่ทรงฆ่าและยังให้ปกครองเมืองเหมือเดิมและทรงรวมอาณาจักรมีเดียให้เป็นอาณาจักรเดียวกับอาณาจักรเปอร์เซีย และทรงสร้างเมืองหลวงชื่อ ปาร์ซากาด (Pasagard)

เมื่อพระเจ้าไซรัสสามารถยึดครองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อย่างอาณาจักรมิเดียได้นั้น อาณาจักรรอบข้างต่างๆ ก็เกรงกลัวต่ออำนาจจึงได้ร่วมมือกันต่อต้านอาณาจักรเปอร์เซีย โดยวางแผนเข้าโจมตีที่อาณาจักรเปอร์เซียพร้อมกัน ซึ่งนำโดยอาณาจักรลิเดีย อียิปต์และบาบิโลน แต่เกิดแผนแตกก่อนจะรวมตัวกันสำเร็จ พระเจ้าไซรัสจึงตัดสินพระทัยเข้าตีเมืองลิเดียก่อน โดยได้ส่งสารไปบอกให้กษัตริย์ลิเดียยอมจำนนแต่โดยดี นี้จึงเป็นการท้าให้กษัตริย์ลิเดียออกมารบ แต่แล้วอาณาจักรลิเดียก็ผ่ายแพ้ต่อพระเจ้าไซรัส ด้วยแผนการรบที่เหนือชั้นกว่านั่นก็คือการใช้อูฐในการรบเพื่อให้ม้าของศัตรูเกิดอาการพยศและตกใจ



เป้าหมายถัดมาของพระองค์คืออาณาจักรบาบิโลน การเข้ายึดครองอาณาจักรนี้โดยวิธีการขุดคลองเพื่อระบายน้ำออกจากแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ล้อมรอบอาณาจักรบาลิโลนไว้ และยกทัพข้ามแม่น้ำเข้าอาณาจักรบาบิโลนโจมตีแบบไม่ให้รู้ตัว และในขณะนั้นอาณาจักรบาบิโลนก็อ่อนแอเนื่องจากกษัตริย์ไม่ได้สนใจประชาชน และประชาชนหมดศรัทธาต่อกษัตริย์ เมื่อพระองค์ยึดครองอาณาจักรบาบิโลนได้ พระองค์ทรงประกาศปลดปล่อยเชลยชาวยิว และบูรณะวิหารของเทพมาร์ดุก และเทพองค์อื่นๆ ทำให้ประชาชนพึงพอใจ และตั้งกรุงบาบิโลนเป็นเมืองหลวงแห่งที่สอง  เป้าหมายต่อไปของพระองค์คือ อียิปต์ แต่ด้วยอียิปต์ในสมัยฟาร์โรห์อะมาซิสที่ 2 มีความแข็งแกร่งมากจึงไม่สามารถโจมตีได้โดยง่าย  จึงจำเป็นต้องดูท่าทีต่อไป อย่างไรก็ตามพระเจ้าไซรัสมหาราชทรงสามารถยึดอาณาจักรใหญ่แห่งดินแดนเมโสโปเตเมียได้ถึง 3 อาณาจักร  นั่นก็ถือว่าเป็นการประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เชียแล้ว

พระเจ้าไซรัสมหาราชได้สิ้นพระชนม์ในเดือนธันวาคม 530 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีแนวคิดว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ระหว่างการรบกับเผ่าเล็กๆ เผ่าหนึ่ง หรืออีกหนึ่งแนวคิดคือพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างสงบที่เมืองหลวงปาร์ซากาด  สุสานของพระองค์ถูกสร้างเป็นวิหารที่เมืองปาร์ซากาดซึ่งยังคงอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาพระเจ้าคัมไบเซสที่ 2 บุตรของพระเจ้าไซรัสขึ้นครองราชย์  จากนั้นอาณาจักรเปอร์เซียก็ได้แผ่ขยายไปยังอียิปต์ได้สำเร็จและก็เป็นบ่อเกิดของสงครามกับชาวกรีกในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1

พระเจ้าไซรัสทรงสามารถรวบรวมอาณาจักรเปอร์เซียให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ และพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการรบที่พระองค์ใช้กลยุทธ์ในการรบที่ชาญฉลาดทำให้รวบรวมหลายๆ อาณาจักรจนได้ชื่อว่า “เปอร์เชียเป็นอาณาจักรที่มีดินแดนกว้างขวางที่สุดในดินแดนเมโสโปเตเมีย”  ด้านการปกครอง และด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะพบว่าพระองค์ไม่เคยหวังเอาชีวิตของกษัตริย์องค์ใดเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงให้กษัตริย์ทุกอาณาจักรที่พระองค์ยึดได้ปกครองตนเอง ปลดปล่อยทาสชาวยิว และพระองค์ยังทำนุบำรุงอาณาจักรต่างๆ เป็นที่พึงพอใจและที่รักของขอประชาชน  นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงสร้าง “กระบอกแห่งพระเจ้าไซรัส (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจึงถือได้ว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้นๆ ของโลก ฉะนั้นแล้วพระเจ้าไซรัสมหาราชจึงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเปอร์เชียอย่างแท้จริง


อ้างอิง

ความรุ่งเรืองแห่งจักวรรดิเปอร์เซีย. (มปป.). สืบค้นเมื่อ 23กันยายน 2559.  แหล่งที่มา : https://writer.dek-d.com/

ท่านซุลก็อรฺนัยนฺคือใคร. (มปป.). สืบค้นเมื่อ 23กันยายน 2559.  แหล่งที่มา : https://alquranstories.
wordpress.com/2010/03/08/zulgornine01/

เปอร์เชีย. (มปป.). สืบค้นเมื่อ 23กันยายน 2559.  แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/persia/index.html

Kittitus OP. (มปป.). Cyrus The Great , สืบค้นเมื่อ 23กันยายน 2559.  แหล่งที่มา :  http://legendtheworld.blogspot.com/2013/11/cyrus-great.html

1 ความคิดเห็น: