หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

2 ธ.ค. 2558

ค่ายกักกันเอาชวิตช์ (Auschwitz Concentration Camp)

โดย เพชรชมพู ดีอันกอง

ในบรรดาค่ายกักกันชาวยิวที่มีชื่อเสียงในเรื่องของความโหดร้ายทารุณระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คงไม่มีที่ใดเทียบ ค่ายกักกันของพรรคนาซี ซึ่งมีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า ค่ายกักกันเอาชวิตช์ ( Auschwitz Concentration Camp ) หรือค่ายกักกันชวิตช์-เบียเคเนา (Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไม่รู้ลืม เพราะคนทั้งโลกรับรู้และจดจำถึงความสูญเสียชีวิต อิสรภาพ ครั้งยิ่งใหญ่ของเพื่อนมนุษย์ชาวยิว ที่ไม่สามารถปลดแอกจากความทุกข์ทรมานได้เป็นระยะเวลานาน จนเป็นที่มาของประวัติศาสตร์ที่ทุกคนให้ความสำคัญ

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันนีที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น มีความคิดที่ว่า ประชาชนประเทศเยอรมันนีต้องมีสายเลือดบริสุทธิ์เท่านั้น ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมันนีจึงถูกกีดกัน กวาดล้างเพื่อไม่ให้สายเลือดยิวมาผสมกับเลือดเยอรมันนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์จึงมีคำสั่งให้ทหารจับตัวชาวยิวทั้งหมด ส่งไปยังค่ายกักกันเอาชวิตช์ เป็นค่ายกักกันขนาดใหญ่และขึ้นชื่อเรื่องการสังหารโหดหมู่ชาวยิวมากที่สุด

ชาวยิวในเยอรมันนีจำนวนมากถูกทหารกวาดต้อนไปยังค่ายกักกันเอาชวิตต์ ชาวยิวจะถูกส่งขึ้นรถยนต์ เรือเดินสมุทรและรถไฟซึ่งเป็นรถไฟขนสัตว์ ก่อนจะถึงค่ายกักกัน ยานพาหนะทุกประเภทจะต้องผ่านด่านตรวจค้น ชาวยิวจะถูกริบทรัพย์สินที่มีค่าทั้งหมดไว้ ไม่ว่าจะเป็นทองคำ เครื่องเพชร หรือแม้กระทั่งแขนเทียม ขาเทียม เหลือไว้เพียงเสื้อผ้าติดร่างกายไม่กี่ชิ้น ระหว่างทางชาวยิวบางคนเสียชีวิต ขาดอากาศหายใจเพราะความแออัด ร่างที่สิ้นลมหายใจนี้จะอยู่บนรถไฟร่วมกับเพื่อนชาวยิวคนอื่น ๆ จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง ผู้คนจึงขนานนามรถไฟสายนี้ว่า รถไฟสายมรณะ


ภาพของชาวยิวที่ถูกทหารจับโกนศีรษะ

เมื่อนักโทษชาวยิวเข้าไปอยู่ในค่ายกักกัน ตารางชีวิตของนักโทษ ในแต่ละวันจะถูกปลุกเวลา 5 นาฬิกาของทุกเช้า อาหารเช้าของพวกเขาจะมีแต่เครื่องดื่ม  จากนั้นต้องออกไปทำงาน ระหว่างทางที่เดินแถวจะมีวงออเคสตร้าบรรเลงเพลงทั้งตอนไปและกลับ เพื่อให้จังหวะการเดินพร้อมเพียงกัน ทหารจึงนับจำนวนนักโทษได้ง่ายและครบถ้วน หลังจากทำงานเสร็จ นักโทษ ที่ล้มป่วยระหว่างทาง จะไม่ได้รับการดูแลรักษา แต่จะถูกยิงจนเสียชีวิต

นักโทษถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส ไม่มีโอกาสหนีรอด บางทีล้มตายไปด้วยความหิวโหย ในความโชคร้ายนั้นความหนาวจัดก็คร่าชีวิตพวกเขาไป นักโทษที่อ่อนแอไร้ค่าจะถูกส่งไปยังห้องรมแก๊ส โดยที่นักโทษไม่รู้ว่ากำลังจะตาย เพราะทหารทำให้เข้าใจว่า เข้าไปอาบน้ำ ดังนั้นนักโทษทั้งหมด 2000 คนที่แออัดกันอยู่ในห้องรมแก๊ส มีเพียงร่างกายที่เปล่าเปลือย เมื่อเวลาผ่านไปสารพิษไซยาไนด์ 5 ถึง 7 กระป๋องจะถูกปล่อยลงมา ทุกคนในห้องทุรนทุราย ปีนป่ายเบียดเสียดกัน เพื่อหาอากาศหายใจ บ้างก็เหยียบกันจนล้มตาย  ในท้ายที่สุดแล้วชีวิตทั้ง 2000 ชีวิตก็สิ้นลมหายใจ ห้องรมแก๊สนี้จะถูกปิดไว้ 30 นาทีเพื่อให้แน่ใจว่านักโทษทุกคนเสียชีวิต ซึ่งเป็นเหตุการณ์การสังสารโหดหมู่ที่โหดเหี้ยมที่สุด


ภาพร่างของนักโทษที่ถูกรมแก๊สกองรวมกันไว้เพื่อนำไปเผา
ที่มา : http://wowboom.blogspot.com/

นักโทษชาวยิวทั้งเด็กผู้ใหญ่ถูกนำไปทดลองทางการแพทย์ด้วยวิธีที่ทารุณต่าง ๆ  เด็ก ๆ ในค่ายกักกันถูกแพทย์ฉีดสารเคมีเข้าสู่ดวงตาเพื่อเปลี่ยนสีตา การนำนักโทษมาตัดแขน ตัดขาเพื่อเฝ้าดูระยะเวลาของการทนพิษบาดแผล อีกทั้งยังมีการสร้างบาดแผลให้กับนักโทษ นำเศษดิน เศษกระจก เศษเหล็กใส่เข้าไปในบาดแผลเพื่อให้แผลอักเสบ แล้วทำการรักษาด้วยยาสูตรต่าง ๆ ที่แพทย์ได้คิดค้นขึ้นมา

ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันนีพ่ายแพ้สงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร จึงพยายามที่จะทำลายหลักฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว มีการเผาทำลายเอกสารต่าง ๆ รื้อโรงรมแก๊สและโรงเผาศพ อีกทั้งยังย้ายนักโทษที่แข็งแรงกลับเข้าสู่ดินแดนเยอรมันนี

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1945 ฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตร่วมด้วยทหารอังกฤษและทหารอเมริกาได้บุกยึดค่ายกักเอาวิตช์จากเยอรมัน ช่วยเหลือปลดปล่อยอิสรภาพให้กับชาวยิว ชาวยิวที่รอดชีวิตบ้างก็ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา  อังกฤษ  ฝรั่งเศส รวมทั้งแผ่นดินเกิดเยอรมันนี

จากบทสรุปของเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้เป็นบทเรียนต่อประวัติศาสตร์ ความไร้แสงแห่งอิสรภาพ ความทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่ายกายและจิตใจเหมือนถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน ซึ่งเกิดจากความโหดร้ายทารุณที่เพื่อนมนุษย์ได้กระทำต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นข้อตระหนักว่าเหตุการณ์แบบนี้ต้องไม่เกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต


อ้างอิง

สุดสยอง ค่ายนรก เอาชวิตซ์ ( Auschwitz Concentration Camp ). สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558, จาก : http://wowboom.blogspot.com/

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558, จาก : https://th.wikipedia.org/

64 ปี “ค่ายเอาชวิตซ์” (Auschwitz). สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558, จาก : http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2009/01/27/entry-1


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น