หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

20 เม.ย. 2557

คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant)

โดย วราภร นาใจคง

นิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant) มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและการใช้ชีวิตของคริสตชนจากพระศาสนจักรคาทอลิค

ประมาณศตวรรษที่ 14-15 โดยคำว่า "โปรเตสแตนต์" (Protestant) แปลว่า "ผู้ประท้วง" หรือ "ผู้คัดค้าน" โดยเริ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มี การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในปี ค.ศ. 1529 โดย มาร์ติน ลูเทอร์ และผู้สนับสนุน ใน่ชวงที่คริสตจักรคาทอลิกเกิดปัญหาขึ้นมากมาย

กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยากลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่ทำให้เกิดการแยกตัวออกจากศาสนาจักรโรมันคาทอลิคสรุปได้ 3 ประเด็น คือ

1 นักบวชในสมัยนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลและนิยมที่จะตีความหลักคำสอนไป
ตามใจชอบโดยไม่มีเหตุผล เป็นเหตุให้เกิดศาสนาพาณิชย์ ค้าขายใบบุญ ไถ่บาป เก็บภาษีไร่นาตลอดจนเรี่ยไรเงินเข้าวัด นักบวชมีชีวิตอย่าง หรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ถือสันโดษ ศาสนจักรมีนโยบายผูกขาดความรู้ทางศาสนาและการสอนศาสนานั้นมีไว้ให้เฉพาะพวกนักบวชเท่านั้น

2 ความเจริญในทางวิชาการมีมากขึ้น ประกอบกับมีการสร้างเครื่องพิมพ์และตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมากมาย ทำให้มีการเผยแพร่ตำราต่างๆอย่างกว้างขวาง การสื่อสารต่างๆ จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว และกระจายไปสู่สัญมัญชนได้อ่านอย่างทั่วถึงทำให้ทัศนคติเริ่มเปลี่ยนไปและเปิดรับแนวคิดใหม่ๆมากขึ้น

3 ความรู้สึกเป็นชาตินิยม (nationalism) มีมากขึ้นในสมัยนี้ แต่ละแคว้นต่างรวมตัวคนในชาติเดียวกัน ปลุกใจให้เกิดความรักชาติรักเผ่าพันธุ์ และพยายามแยกตัวออกเป็นอิสระจากศาสนจักร

ภายหลัง มีกลุ่มที่เป็น ตัวเคลื่อนไหว มี 3 กลุ่ม คือ

1 นิกายลูเธอร์รัน (Lutheran)ผู้นำคนสำคัญ คือ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1483-1546 เกิดที่ประเทศเยอรมัน

ได้รับการศึกษาจบปริญญาเอกและได้ศึกษาเทวศาสตร์จากสถาบันต่างๆ จากนั้นได้เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญทีกรุงโรม ทำให้เห็นสภาพต่างๆ ในศาสนจักร

ต่อมาท่านได้ตีความพระคัมภีร์ไบเบิล และวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง ความคิดเลยต่อเนื่องมาวิจารณ์พระศาสนจักรซึ่งในขณะนั้นมีการขายในบุญกันมาก

มาร์ติน ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุน พระศาสนจักรซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก ได้รับการสนับสนุนจากมหาชน เยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลายออกไปทั่วยุโรป

ทำให้พระสันตะปาปาไม่พอพระทัย มาร์ติน ลูเธอร์ ได้รับหมายขับออกจากการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร (excommunication) ในปี ค.ศ. 1521 นำไปสู่การแตกแยกเป็นนิกายใหม่ในเวลาต่อมา ชีวิตของมาร์ติน ลูเธอร์ในระยะนี้ต้องหลบลี้ตลอดเวลา

2 กลุ่มคริสตรจักรฟื้นฟู (Reformed Christianity)
3 นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England)


อ้างอิง 

https://sites.google.com/site/irajew09/f/prawati-ni-kan-po-taes-thaen

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น