หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

20 เม.ย. 2557

ศิลปะนีโอคลาสสิก (Neo-Classic Art)

โดย พิษณุ แก้วอัคฮาด

ในอารยธรรมยุคสมัยใหม่นั้น  เป็นยุคที่มีการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ทำให้เกิดศิลปะสมัยใหม่ขึ้นมาหลายแบบ แต่ละแบบก็มีลักษณะเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป  โดยเฉพาะศิลปะแบบ นีโอคลาสสิก ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่ กับสมัยเก่า

นีโอคลาสสิก มาจากำคว่า Neo แปลว่าใหม่ หรือ New  กับ Classic ที่เป็นชื่อเรียกศิลปะของกรีกในยุคคลาสสิกก่อน คริสตศักราช 540–400 ปี รวมกันแล้วหมายถึง “ความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่มีหลัก ซึ่งลอกเลียนแบบเนื้อหาศิลปกรรมกรีกกับโรมัน”  ภาพเขียนในยุคนี้จะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นที่ รูปร่างทรวดทรงและองค์ประกอบของภาพที่มีขนาดใหญ่โต มั่นคงแข็งแรง มีความกลมกลืนในด้านแสงและเงา

ศิลปินที่สำคัญในยุคนีโอคลาสสิกนี้ ได้แก่ Jacques Louis David ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้วางรากฐานศิลปะนีโอคลาสสิก มีงานจิตรกรรมที่สำคัญคือ ภาพ The Oath of Horatij  , ภาพ The Death of Marat  ,  ภาพ Battle of the Roman and Sabines และ ภาพ Benjamin West

สถาปัตยกรรมในสมัยนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจาก เผด็จการทางการเมือง การแบ่งชนชั้นในฝรั่งเศส ซึ่งการที่ประชาชนได้รับความเจ็บปวด ทำให้ชาวยุโรปหันมาให้ความสำคัญกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ประกอบกับการขุดพบซากเมืองโบราณต่างๆ เช่น กรีก เฮอคูลาเนียน  และปอมเปอี ซึ่งทำให้พบศิลปะวัตถุที่มีค่ามากมายในสถานที่ดังกล่าว

ศิลปะนีโอคลาสสิก เริ่มต้นในยุคกลางศตวรรษที่18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งศิลปะแบบรอคโคโค และแบบบาร็อก ที่มีลักษณะที่ฟุ้งเฟ้อและมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก ได้รับความนิยมมาก่อน  ทำให้ในตอนต้นของยุคจึงมีการนำแนวคิดรูปแบบศิลปะโบราณกลับมาใช้ใหม่  ดังนั้นงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีการสร้างงานโดยการนำงานแบบโบราณมาปรับปรุงให้เกิดเป็นรูปแบบใหม่  แต่ก็ยังแฝงแนวคิดที่เป็นแบบเดิมนั้นอยู่

ศิลปะนีโอคลาสสิคนั้นมี งานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมนั้นมีน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นงาน จิตรกรรม จึงกล่าวได้ว่ายุคนี้ จิตรกรรมมีความเจริญมากที่สุด โดยเนื้อหาที่ถ่ายทอดลงในงานจิตรกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวตามเทพนิยายของกรีก สภาพสังคม และการปกครอง


อ้างอิง  

http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson441.html

http://ducksecret.blogspot.com/2010/09/neo-classic-style.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น