หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

5 มี.ค. 2557

Perspective ในงานด้านจิตรกรรม

โดย กรธนัท ศุภภะ

รูปแบบในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมในช่วงยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการมักจะมีรูปแบบที่แสดงออกถึงความงามตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติและการวาดรูปคนมักจะสนใจความงามของทรวดทรง กล้ามเนื้อ และการแสดงท่าทาง มีการเขียนภาพและแกะสลักภาพเปลือย แสดงสัดส่วนทางกายวิภาคอย่างกว้างขวาง และที่โดดเด่นคือการสร้างสรรค์ผลงานแบบ perspective ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานในแบบที่ให้ความรู้สึกใกล้ไกลด้วยเส้นเพียงตา

ผลงานที่ทำแบบ perspective มีอยู่หลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็น View of an Ideal City  a painting by Piero della Francesca.และ Lamentation of the Dead Christ, tempera on canvas, 1466 และภาพวาด โมนาลิซ่า ของลีโอนาโด ดาวินชี และผลงานชิ้นอื่นๆ ลักษณะการสร้างผลงานแบบperspective มีดังนี้ คือ การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต  สังคม  ศาสนาและวัฒนธรรม  จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม  มีความเป็นมิติ   มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม

หลักการวาดภาพเพื่อให้เกิดความลึกในงานวาดเส้นและงานจิตรกรรม โดยอาศัยการสังเกตธรรมชาติของการมองเห็นของคนผสมผสานกับหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ ศิลปินเข้าใจหลักทัศนียวิทยามาตั้งแต่ยุคกรีก แต่ได้พัฒนาเป็นหลักเกณฑ์โดยศิลปินในยุคเรอนาซองค์ ซึ่งใช้หลักดังกล่าวเพื่อวาดรูปตึกหรือภาพทิวทัศน์ให้ความรู้สึกลึกเข้าไปในภาพ ในขณะเดียวกันใช้กับการวาดภาพคนหรือสัตว์ในลักษณะที่ภาพจัดวางในแนวลึกเข้าไปในภาพ ซึ่งเรียกภาพลักษณะนี้ว่า ภาพกินตา (foreshortened image) ดังตัวอย่างภาพจิตรกรรมของมานเตนย่า ชื่อการตายของพระเยซู ภาพทัศนียวิทยามีสองลักษณะคือ แบบเน้นแนวเส้น(Linear perspective) ดังเช่นภาพของอาหารมื้อสุดท้ายของดาวินซีและแบบใช้บรรยากาศ (Aerial perspective)


อ้างอิง

จิตรกรรมในรูปแบบperspective  สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557 เวลา 20.00 น. จาก http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson436.html.

จิตรกรรมในรูปแบบperspective  สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557 เวลา 20.00 น. จาก
http://203.158.253.5/wbi/Education/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20(Aesthetics)/unt4/west%20art/50hom%20rensant.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น