หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

7 ม.ค. 2557

สงครามร้อยปี (Hundred Years' War)

โดย ชาลิสา กุลชุติสิน    

ในยุคกลาง( Middle Ages ) ของประวัติศาสตร์ยุโรปได้เกิดเหตุการณ์แก่งแย่งอำนาจและอาณานิคมเกิดขึ้นมามากมาย ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ล้วนเป็นสิ่งสำคัญซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของโลกทั้งสิ้น และหนึ่งในนั้นได้แก่สงครามร้อยปี การสู้รบอันยาวนานระหว่างราชวงศ์อังกฤษและฝรั่งเศส

สงครามร้อยปีเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุคกลางของฝั่งยุโรป เป็นความขัดแย้งระหว่างสองราชตระกูลที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1337 ถึงปี ค.ศ. 1453คือราชวงศ์วาลัวส์ และราชวงศ์อองชู ( ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท )

เพื่อต้องการชิงราชบัลลังก์ฝรั่งเศสที่ว่างลงเพราะผู้สืบเชื้อสายของราชวงศ์กาเปเตียงคือพระเจ้าฟิลลิปที่ 4 ไม่มีทายาท มีแต่หลานที่ไปสมรสกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ต่อมามีโอรสคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ซึ่งได้ปกครองอังกฤษต่อ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ยอมรับจึงสนับสนุนพระเจ้าฟิลลิปที่ 6 ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าฟิลลิปที่ 4 ที่มาจากราชวงศ์วาลัวส์ขึ้นอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส

สงครามระหว่าง 2 ราชวงศ์นี้ ครั้งแรกอังกฤษเป็นฝ่ายชนะในสมรภูมิ เมืองเครซี พอยเทียร์ และ อะจินคอร์ท โดยนักธนูชาวอังกฤษได้ใช้ธนูอันมีประสิทธิภาพสูง ธนูนี้สามารถแทงเจาะเกราะที่ห่างออกไปกว่า 200 หลา ( 183 เมตร  ) แต่สุดท้ายชัยชนะกลับตกเป็นของฝรั่งเศส ซึ่งชนะได้โดยการปลุกใจจาก โจน ออฟ อาร์ค ( Joan of Arc) โดยสงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานเป็นเวลาถึง 116 ปี

จากการสู้รบในสงครามครั้งนี้ ทำให้อังกฤษสูญเสียดินแดนในการปกครองไปเป็นจำนวนมาก และกษัตริย์ของอังกฤษได้ถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐสภาซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานแนวทางการพัฒนาระบอบสภาของอังกฤษ ส่วนทางด้านฝรั่งเศสนั้นหลังจากชนะสงคราม ยิ่งส่งผลให้กษัตริย์ยิ่งมีอำนาจสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมากจนเกินกว่าที่ประชาชนจะทนไหว จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการต่อต้านและปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

อ้างอิง: 

ไม่ระบุชื่อ . ( 2556 ) . สงครามร้อยปี . สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2557 จาก http://th.wikipedia.org

Ampika12 , (2551). สงครามร้อยปี . สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2557 จาก http://www.thaigoodview.com

ไม่ระบุชื่อ. (ไม่ระบุปี). สงครามร้อยปี. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2557 จาก http://www.myfirstbrain.com

As noted in, e.g., Gregory D. Cleva, Henry Kissinger and the American Approach to Foreign Policy, Bucknell University Press, 1989; p. 87 ("the English Channel gave the nation a sense of geographical remoteness" while its "navy fostered a sense of physical unassailability" that lasted until the early 20th century).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น