หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

7 ม.ค. 2557

ความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบฟิวดัล (Feudal System)

โดย ธิดาแก้ว วงศ์โยธา

สังคมยุโรปยุคกลางหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน  บรรดาผู้คนในยุโรปต่างก็แสวงหาที่พึ่งเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน จึงเกิดระบบฟิวดัลขึ้น ระบบนี้กษัตริย์จะมอบที่ดินให้ขุนนาง แล้วเจ้าขุนนางมอบที่ดินให้ชาวนาทำกินในที่ดินที่ได้รับมอบ เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็จะแบ่งผลผลิตส่วนหนึ่งให้เจ้าขุนนางตามข้อตกลง ขุนนางในแต่ละแมนเนอร์จึงมีอำนาจในการปกครองและควบคุมดูแลคนของตน

ระบอบฟิวดัล (Feudalism) หรือศักดินาสวามิภักดิ์เป็นระบอบการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของยุโรปในสมัยกลาง มีพัฒนาการมาตั้งแต่จักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจ และปรากฏชัดเจนในปลายสมัยราชวงศ์คาโรแลงเจียน (Carolingian) ของพวกแฟรงค์

คำว่า feudalism มาจากคำว่า ฟิฟ (fiefs) หมายถึง ที่ดินที่เป็นพันธสัญญาระหว่างเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดิน เรียกว่าลอร์ด (lord) กับผู้ที่หาประโยชน์ในที่ดิน เรียกว่า วัสซัล(vassal) ความสัมพันธ์ในระบอบฟิวดัลคือความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้า

สังคมในระบอบฟิวดัล  ประกอบด้วย

1.  กษัตริย์ (King) มีฐานะเป็นเจ้านายสูงสุด
2.   ขุนนาง (tenants-in-chief) ผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินจากกษัตริย์และเป็นเจ้าของชาวนา, ข้าทาส
3.   อัศวิน (Knights) ลูกของขุนนาง
4.  ชาวนา , ข้าทาส  (peasants)

ในสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ ได้ทรงใช้ระบอบฟิวดัลปกครองจักรวรรดิของพระองค์และได้สืบทอดต่อมาตลอดช่วงสมัยกลาง คือ กษัตริย์จะพระราชทานที่ดินให้กับขุนนาง (lord) เพื่อให้ขุนนางจงรักภักดีและเป็นการตอบแทนความดีความชอบจากการทำสงคราม ขุนนางก็จะมีพันธะต่อกษัตริย์คือส่งกำลังทหารมาช่วยเมื่อมีสงคราม  ขุนนาง (lord)จะนำที่ดินนั้นมาแบ่งให้กับขุนนางระดับรองลงไป เรียกว่า วัสซัล(vassal) เพื่อให้ขุนนางระดับรองจงรักภักดีและสนับสนุนด้านกำลัง   ส่วนขุนนางระดับรองรวมทั้งประชาชนที่เป็นข้าติดที่ดินก็จะได้รับการคุ้มครองจาก lord  ขุนนางระดับรองจะนำที่ดินนั้นมาหาผลประโยชน์ และปกครองดูแลผู้คนที่จะทำมาหากินบนที่ดินในเขตแมนเนอร์ (manor) ของตน ประชาชนที่อาศัยและทำงานในที่ดินนั้น เรียกว่า เซิร์ฟ (serf) หรือข้าติดที่ดิน  

จะเห็นได้ว่า ระบบฟิวดัลซึ่งเป็นระบบการปกครองและเศรษฐกิจของสังคมยุโรปในยุคกลางเกิดขึ้นจากการที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย ทำให้สภาพสังคมในยุคนั้นเริ่มเสื่อมโทรมลง ขุนนางเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประชาชนจึงต้องหันไปพึ่งพาขุนนางเพื่อความมั่นคงของตนเอง และระบบฟิวดัลยังทำให้เกิดความเข้มแข็งและมีจิตสำนึกของประชาชนร่วมกันอีกด้วย เนื่องจากแต่ละชนชั้นได้มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

อ้างอิง :

วิไลวรรณ พรมสิทธิ์. (2556). ระบอบฟิวดัล. Retrieved 7 มกราคม 2557, from http://wl.mc.ac.th/?p=97

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น