หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

22 ธ.ค. 2561

ปารีสซินโดรม (Paris Syndrome) ภัยร้ายของคนญี่ปุ่น

โดย ทิวากร พรมธิดา

ประชากรของประเทศที่ขึ้นชื่อว่าประสบกับปัญหาความเครียดมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่างญี่ปุ่น ต่างก็ต้องหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนสมอง หนึ่งกิจกรรมที่ชาวญี่ปุ่นนิยมมากก็คือ การท่องเที่ยวต่างประเทศ และหากนึกถึงเมืองท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยม ปารีส ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง หากแต่เมืองที่สวยงามในความคิดของคนทั้งโลก ในความจริงแล้วไม่ได้มีแค่ด้านเดียวอย่างที่ทุกคนเข้าใจ แต่กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ในหมู่นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นในปัจจุบัน



ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่คนทั่วโลกต่างก็รู้ดีว่าประชาชนใส่ใจเรื่องความสะอาด ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่คนทั่วไปจะสังเกตเห็นได้คือความเป็นระเบียบ การกระทำเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเป็นอย่างมาก แม้แต่การเรียนและการทำงาน คนญี่ปุ่นก็นับว่าเป็นคนขยัน ตรงต่อเวลา หากสิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้ส่งเพียงผลดีต่อผู้คนในประเทศเท่านั้น แต่กลับยิ่งทำให้สังคมญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขันและความเคร่งเครียดที่ก่อตัวขึ้นจากกรอบสังคม

ฉะนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด และ ‘ปารีส’ ก็เป็นสถานที่ยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น เนื่องจากสื่อโฆษณา รวมทั้งรูปถ่ายตามโซเชียลมีเดีย ได้แสดงให้ผู้คนเห็นถึงสวยงามของปารีส และคิดว่าควรค่าแก่การไปสัมผัสบรรยากาศเหล่านั้นด้วยตนเอง

แต่แล้วเรื่องที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อความจริงกับสิ่งที่คิดไม่แม้แต่จะใกล้เคียงกัน นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่ไปเที่ยวปารีสล้วนแต่ได้รับความผิดหวังกลับมาจนกระทั่งบางรายต้องได้รับการบำบัดจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพราะปารีสในความเป็นจริงกับปารีสที่เป็นสววรค์กลางยุโรป เมืองน้ำหอมที่สุดแสนจะโรแมนติก ไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับที่วาดหวังไว้แม้แต่นิดเดียว


ที่มา: http://www.sickchirpse.com/

สังคมในเมืองปารีสในความเป็นจริงเต็มไปด้วยเศษขยะตามทางเดิน ผู้คนไม่ชอบทำตามกฎระเบียบ หากเดินเข้าร้านอาหาร พนักงานก็แทบจะไม่สนใจลูกค้า ซึ่งแตกต่างจากร้านอาหารในญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องความปลอดภัย จนกระทั่งเกิดเป็นความวิตกกังวล

การใช้ชีวิตในปารีสไม่กี่วัน นับเป็นเรื่องลำบากสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น พวกเขาประสบกับเรื่องที่ไม่คาดคิดอย่างการโดนล้วงกระเป๋าสตางค์ทั้งที่พกมันติดตัวตลอดเวลา การโดนคนไม่รู้จักเข้ามาขอเงิน และก่อกวนตามทางเดิน ไม่ใช่แค่ทางเดินเปลี่ยวๆ แม้แต่ที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนอย่างในรถไฟฟ้า ยังมีการลักทรัพย์ ขู่กรรโชกเงิน และการโดนรบกวนรูปแบบต่างๆ ตลอดเวลา

อีกสาเหตุหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นเกิดความผิดหวังในการมาเที่ยวปารีสก็คือการถูกเหยียดเชื้อชาติ คนพื้นที่ในปารีส แสดงออกชัดเจนว่ารังเกียจคนเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน คนทำงาน หรือแม้แต่นักท่องเที่ยว ก็มักจะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไป แม้กระทั่งคนดำในปารีสก็ยังปฏิบัติกับชาวญี่ปุ่นเหมือนไม่เต็มใจ เพียงแค่มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินผ่าน ก็จะถูกมองด้วยสายตาไม่เป็นมิตร และหากต้องให้บริการนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น พวกเขาจะแสดงออกชัดเจนว่าไม่อยากให้บริการ หรือแม้กระทั่งถ้าหากชาวญี่ปุ่นต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาก็เลือกที่จะเมินเฉย ไม่สนใจ และไม่พยายามช่วยเหลือแต่อย่างใด

และหากชาวญี่ปุ่นจะหวาดกลัวจนไม่กล้าออกไปเที่ยวข้างนอก การอยู่แต่ในที่พักก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าพวกเขาจะปลอดภัย เนื่องจากบางพื้นที่มีกลุ่มวัยรุ่นหรือแก๊งคนดำที่จะเข้ามาขโมยของ หรือทำร้ายร่างกายพวกเขาได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการงัดแงะ ขโมยกุญแจ หรือฉวยโอกาสตอนที่เจ้าของห้องเปิดปิดประตูเพื่อบุกเข้าไป

จากสาเหตุเหล่านี้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นหลายคนถึงกับรับไม่ได้จนกระทั่งล้มป่วย หลายคนกลายเป็นโรคที่เรียกว่า ปารีสซินโดรม โรคที่เกิดจากการตั้งความหวังกับปารีสได้มากเกินความเป็นจริง และผิดหวังจนเกินจะรับได้เมื่อมาเที่ยวที่ปารีสด้วยตนเอง

"คนไข้ 1 ใน 3 อาการดีขึ้นทันที อีก 2 ใน 3 มีอาการกำเริบ ส่วนที่เหลือเป็นโรคจิต" ยูเซฟ มะห์มูเดีย นักจิตวิทยาจากโรงพยาบาลโอเต็ลดิเออ กล่าวกับหนังสือพิมพ์ชูร์นาลดูดิมองช์ และในปีนี้ (ค.ศ. 2004) สถานทูตญี่ปุ่นในปารีสต้องส่งนักท่องเที่ยวกลับประเทศไปแล้วอย่างน้อย 4 คน ซึ่งในจำนวนนั้น มีนักท่องเที่ยวหญิง 2 คนที่เชื่อว่าห้องพักของตนติดเครื่องดักฟัง และมีการวางแผนลอบทำร้ายพวกเธอ

นอกจากนี้ นักจิตวิทยา แอร์เว เบนฮามู ยังกล่าวกับชูร์นาลดูดิมองช์อีกว่า "นักท่องเที่ยวที่มีจิตใจอ่อนไหวอาจทนรับไม่ได้ เมื่อค้นพบว่าความจริงไม่เป็นไปตามความคิดที่มีต่อประเทศนั้น จึงสามารถทำให้เกิดอาการอันตรายได้" และ ไอมิ หญิงชาวญี่ปุ่นยังกล่าวกับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้อีกว่า "สำหรับเรา ปารีสเป็นเมืองในฝัน ชาวฝรั่งเศสนั้นสวยงามและสง่า...แต่พอชาวญี่ปุ่นมาถึง ก็ต้องพบว่าอุปนิสัยของชาวฝรั่งเศสนั้นตรงกันข้ามกับคนญี่ปุ่นอย่างสิ้นเชิง"

จากสาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ปารีสซินโดรม จึงเป็นคำที่ใช้เรียกอาการผิดหวังอย่างรุนแรงของคนญี่ปุ่นซึ่งได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตแบบคนปารีส และพบว่าความจริงแล้ว ปารีสไม่ใช่สวรรค์กลางยุโรปแบบที่ใครหลายคนเข้าใจ หากแต่เป็นเมืองเมืองหนึ่งซึ่งมีปัญหาหลากหลาย เต็มไปด้วยอาชญากร ไร้กฎระเบียบ และสกปรกเพราะเต็มไปด้วยขยะตามพื้นทั้งจากคนพื้นที่และนักท่องเที่ยวซึ่งมีมากมาย ต่างกันโดยสิ้นเชิงกับกรุงโตเกียวของประเทศญี่ปุ่นที่มีการเคร่งครัดในกฎระเบียบ และความสะอาด อาการผิดหวังจากปารีสของชาวญี่ปุ่นนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ แต่ทว่ากลับส่งผลกระทบต่อจิตใจ จนคนบางคนที่ไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกผิดหวังนี้ได้ ต้องเข้าคำปรึกษาและรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ จึงกล่าวได้ว่าโรคนี้เป็นโรคใกล้ตัวของบรรดานักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น และอันตรายเป็นอย่างยิ่งต่อคนที่มีจิตใจอ่อนไหว


อ้างอิง

Jung explore. (2557). Paris Syndrome. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2561, จาก: https://pantip.com/topic/32413988

MGR Online. (2549). "ปารีสซินโดรม" เล่นงาน 'ญี่ปุ่น' ท่องฝรั่งเศส. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2561, จาก: https://mgronline.com/around/detail/9490000131637

Wikipedia. (2017). Paris syndrome. Retrieved September 27, 2018, from: https://en.wikipedia.org/wiki/Paris_syndrome

Zeed2222. (2550). ด้านมืดของปารีส. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2561, จาก: http://zeed2222.thaimultiply.com/journal/22327/%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น