หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

26 ธ.ค. 2559

หยางกุ้ยเฟย (Yang Gui Fei) ยอดหญิงผู้น่าสงสาร

โดย เกตุวดี นวธารางกูร
                                     
หญิงงามในประวัติศาสตร์จีนนั้นมีมากมาย แต่ละนางล้วนมีเรื่องราวที่น่าสนใจแตกต่างกัน แต่จะมีเพียง
4 หญิงงามที่ได้รับการยกย่องให้เป็นยอดหญิงพธูแห่งจีน ดังคำสดุดีที่ว่า
“มัจฉาจมวารี  ปักษีตกนภา
จันทร์หลบโฉมสุดา  มวลผกาละอายนาง”
คำสดุดีดังกล่าวนั่นได้ยกย่องถึงความงามของทั่งสี่นาง โดยในวรรคสุดท้ายนั้นได้กล่าวยกย่องถึงความงามของหยางกุ้ยเฟนั้นเอง ทั่งสามสาวงาม ไซซี หวังเจาจวิ๋น และเตียวเสียน ต่างก็พลีกายถวายความงามเพื่อชาติบ้านเมือง เกียรติประวัติรวมกับความงามจึงทำให้สาวงามทั่งสามนางได้รับการยกย่องจากชาวจีน แตกต่างจากหยางกุ้ยที่ไร้เกียรติประวัติ ทำให้ชาติบ้านเมืองล่มสลาย และมีชะตากรรมน่าสงสารจนชาวจี.นจดจำไว้ในหัวใจและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดหญิงงามของจีน


ที่มา: http://www.planet789.com/

หยางกุ้ยเฟยเดิมมีนามว่า “ยี่ว์หวน” บิดานามว่าหยางเสวียนเหยี่ยน เป็นเจ้าหน้าที่สำรวจสำมะโนครัวในมณฑลซื่อชวน ยี่ว์หวนเกิดที่นั่น บิดาเสียชีวิตที่นั่นตั่งแต่นางยังเด็ก  อาของนางซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในเหอหนานจึงรับอุปการะเลี้ยงดู และเมื่อโตขึ้นความงามของยี่ว์หวนก็ยิ่งงดงามมากยิ่งขึ้น

รัชศกไคชวน(พ.ศ.1285) ปีที่ยี่สิบสอง ยี่ว์หวนได้รับคัดเลือกให้เข้าพระราชวังเป็นพระชายาของโส้วอ๋อง พระโอรสในพระเจ้าถังเสวียนจง ต่อมาพระเจ้าถังเสวียนจงได้ข่าวว่าโส้วอ๋องมีชายารูปงามก็อยากที่จะยลโฉม จึงมีรับสั่งให้โส้วอ๋องพายี่ว์หวนเข้าเฝ้า มีพระราชานุญาตให้นางลงอาบน้ำในสระหัวซื่อฉือ เมื่อยี่ว์หวนจึ้นจากสระความผุดผาดอรชนของนาง ทำให้พระเจ้าถังเสวียนจงตะลึงและพึงปรารถนาจะครอบครองในตัวยี่ว์หวนทันที จึงตรัสขอยี่ว์หวนจากพระโอรสทันที ส่วนโส้วอ๋องนั้นหวังในตำแหน่งรัชทายาทจึงรีบสนองพระประสงค์ในทันที แต่สุดท้ายโส้วอ๋องก็มิได้ถูกแต่งตั้งตำแหน่งรัชทายาทดังหวังแต่ได้รับพระราชทานสาวสกุลเว่ยมาเป็นชายาใหม่เท่านั้น
         
พระเจ้าถงเสวียนจงให้ยี่ว์หวนออกบวชเป็นนักพรตหญิงระยะหนึ่ง จากนั้นก็ให้สึกมาถวายตัว พระเจ้าถังเสวียนจงลุ่มหลงนางอย่างหนักจนสถาปนานางให้เป็น “กุ้ยเฟย”ทั่งยังพระราชทานเกียรติและเครื่องประกาศอิสริยยศเสมอด้วยฮองเฮาทุกประการ



พระเจ้าถังเสวียนจงลุ่มหลงในหยางกุ้ยเฟยเพราะนางมีรูปโฉมคล้ายหวู่ฮุ่ยเฟย(พระสนมใรฮ่องเต้องค์ก่อน)โดยความงามนางนั้นยากที่จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้หมด โดยอธิบายพอสังเขปได้ว่า หยางกุ้ยเฟยมีผมที่ดำเงางามสลวย ดวงตากลมโตคล้ายลูกท้อ ริมฝีปากเรียวงามเป็นกระจับ มีร่างกายที่ยั่วยวนใจชายเห็นส่วนเว้าและโค้งอย่างชัดเจน ใครได้เห็นเป็นต้องพึงปรารถนา ยิ่งประกอบไปด้วยผิวกายที่ขาวราวน้ำนมและกลิ่นกายที่หอมจรุงใจจากดอกไม้ ยิ่งทำให้งดงามและมีเส่นห์มากยิ่งขึ้น พระเจ้าถังเสวียนจงจึงสมปรารถนาที่ทรงใฝ่ฝันมานานที่จะหานางที่คล้ายหวู่หุ้ยเฟย อีกทั่งหยางกุ้ยเฟยนางยังเป็นผู้คิดค้นเครื่องประทินโฉมขึ้นมากมายและยังคิดวิธีให้ร่างกายมีกลิ่นหอมที่จรุงใจชายคล้ายกลิ่นดอกไม้ โดยหยางกุ้ยเฟยจะนำกลีบดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาโปรยลงในสระที่จะสรงน้ำทุกครั้งและจะแช่ตัวประมาณ 2 เค่อ(30นาที)เพื่อให้กลิ่นซึมเข้าสู่ผิวหนังและมีกลิ่นที่หอมติดนาน นอกจากนี้หยางกุ้ยเฟยยังคิดค้นการนำดอกไม้มาสกัดเอาน้ำมันออกมาจนกลายเป็นน้ำหอมให้มีใช้จนทุกวันนี้
                                                           
ความลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟยของพระเจ้าถังเสวียนจงทำให้พระองค์ทรงละเลยการบริหารบ้านเมืองและงดว่าราชการเพราะไม่ต้องการอยู่ห่างจากหยางกุ้ยนั้นเอง “อันลู่ชาง” แม่ทัพหัวเมืองจึงฉวยโอกาสนี้ก่อกบฎส่งผลให้พระเจ้าถังเสวียนจงต้องเสด็จลี้ภัยออกตากนครหลวงไปทางตะวันออกเฉียงใต้กับพระสนมเอกหยางกุ้ยเฟย ขบวนเสด็จออกจากเมืองมาได้ไม่ไกล ทัพอารักขาทั้งหกก็กราบทูลให้พระเจ้าถังเสวียนจงประหารพระสนมเอกหยางกุ้ยเฟยเสีย โดยอ้างว่านางคือน้องสาวของอันลู่ชางและเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในแผ่นดิน พระองค์มิอาจทัดทาน จึงมีรับสั่งให้มอบผ้าแพรสีขาวยาวสามต้วน ให้พระนางปลงพระชนม์องค์เองที่เนินหม่าเหวยปอ

เหล่าราษฎรโกรธแค้นที่พระนางเป็นต้นเหตุให้บ้านเมืองล่มสลาย แต่แท้จริงแล้วนางตกเป็นเหยื่อกามารมณ์ของชาย แต่ไม่มีชายใดปกป้องคุ้มครองนาง โส้วอ๋องนั้นใช้นางเพื่อหวังตำแหน่งรัชทายาท ส่วนพระเจ้าถังเสวียนจงนั้นอาศัยนางเป็นเครื่องสนองอารมณ์และเห็นนางเป็นตัวแทนของหวูฮุ่ยเฟย แต่เมื่อมีภัยถึงตัวก็สละนางเอาตัวรอด เพราะหากไม่สละนางอาจจะถูกสังหารได้ เห็นได้สามีทั่งสองของนางล้วนใช้ความงามแม้กระทั่งชีวิตเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

ต่อมาเรื่องราวของหยางกุ้ยเฟยถูกถ่ายทอดออกมาในกวีนิพนธ์ เรื่องหนึ่งชื่อว่า “ซอแค้นนิรันดร์”เมื่อผู้คนได้อ่านเรื่องราวของหยางกุ้ยเฟยด้วยความงามเป็นเลิศประกอบกับโศกนาฎกรรมชีวิต และความดีความชอบในการคิดค้นเครื่องประทินโฉมและเครื่องหอม ทำให้หยางกุ้ยเฟยได้รับเกียรติเสมมอกับอีกทั้งสามนางนั้นเอง


อ้างอิง:

ถาวร สิกขโกศล.  (มปป.).  4 ยอดหญิงงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีน. กรุงเทพฯ :  ก.ไก่.

ทวีป วรดิลก. 2548. ปริศนาการตายหยางกุ้ยเฟย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก: http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000154714

Planet789 ข้อมูลท่องเที่ยว: หยางกุ้ยเฟยสนมเอกผู้ล่มแผ่นดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก: http://www.planet789.com/2013/12/yang-guifei.html?m=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น