หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

29 ธ.ค. 2559

สงครามดอกกุหลาบ ( War of Roses)

โดย ขนิษฐา ทองใคร้

ทุกประเทศ ทุกยุคสมัยล้วนแต่มีความขัดแย้งหรือการแย่งชิงอำนาจการปกครองกัน เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ อังกฤษเกิดสงครามภายในประเทศมานับไม่ถ้วน สาเหตุหลักคือความไม่พอใจของประชาชนหรือขุนนางในการปกครองของกษัตริย์ เมื่อกษัตริย์ไม่สามารถทำหน้าที่ที่ดีได้จึงเกิดการปฏิวัติจากกลุ่มขุนนางหรือแม้กระทั่งประชาชน แต่ในยุคกลางมีสงครามการแย่งชิงอำนาจการปกครองอยู่หนึ่งสงครามนั่นคือ สงครามดอกกุหลาบ (war of roses) เกิดขึ้นหลังจากอังกฤษเพิ่งสิ้นสุดสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1453


ภาพสัญลักษณ์ประจำตระกูลของ York และ Lancaster 

สงครามดอกกุหลาบเป็นสงครามการแย่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างสองราชวงศ์คือ ราชวงศ์ยอร์คและราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 โดยสงครามนี้เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1453-1487 เหตุที่ใช้ชื่อสงครามดอกกุหลาบเพราะตราสัญลักษณ์ของสองตระกูลนี้เป็นดอกกุหลาย โดยราชวงศ์ยอร์คใช้สัญลักษณ์กุหลาบสีขาว ส่วนราชวงศ์แลงคาสเตอร์ใช้สัญลักษณ์กุหลาบสีแดง   ชนวนสงครามเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 เสด็จสวรรค์คตและพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 รัชทายาทไม่มีความสามารถพอที่จะปกครองบ้านเมือง จึงทำให้ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 อ้างสิทธฺ์ในการครองราชบัลลังก์อังกฤษและได้พิสูจน์ว่าตนนั้นมีความสามารถที่จะปกครองอังกฤษได้ นอกจากนี้ยังได้ทำการถกเถียงกับบุคคลสำคัญต่างๆในราชวงศ์แลงคาสเตอร์ต่อหน้าพระราชินีมากาเร็ตแห่งพระเจ้าเฮนรี่อีกด้วย


First Battle of St.albans 

การปะทะกันระหว่างสองราชวงศ์นี้เกิดขึ้นอยู่หลายครั้งโดยการปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1455 ในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้บุคคลสำคัญของตระกูลแลงคา่สเตอร์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และพวกแลงคาสเตอร์ที่ยังเหลืออยู่เกิดความแค้นต่อริชาร์ด แห่งยอร์คที่ 3มากขึ้น  ทำให้เกิดการปะทะกันที่รุนแรงขึ้นในปีค.ศ. 1459 โดยในครั้งนี้ตระกูลยอร์คฝ่ายยอร์คเสียเปรียบจนต้องหนีออกจากประเทศจน ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16นำทัพมารุกรานอังกฤษฝั่งคาลส์ทำให้ดยุคแห่งยอร์คกลับเข้ามาอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์อังกฤษและขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์อย่างเต็มตัวทำให้พระราชินีมากาเร็ตและเหล่าขุนนางแห่งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ต้องอพยพไปอยู่ทางเหนือของอังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในยุทธการโทวทันโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรคนโตของริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์ค ถึงอย่างนั้นก็มีการต่อต้านจากราชวงศ์แลงคาสเตอร์อยู่ประปรายในช่วงต้นปีค.ศ. 1461และปีค.ศ.1464พระเจ้าเฮนรี่ถูกจับตัวไป ทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงมีความบาดหมางกับผู้สนับสนุนของพระองค์และเอิร์ลแห่งวอริค ผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์

ต่อมา เอิร์ลแห่งวอริคพยายามโค่นราชบัลลังก์โดยการยกพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด จอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 ขึ้นแทน แต่ต่อมาก็หันไปนำพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับมาเป็นกษัตริย์ได้เป็นระยะเวลาสองปีก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะยึดราชบัลลังก์คืนได้ในปี ค.ศ. 1471


พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษในราชวงศ์ยอร์ค
ที่มา : https://th.wikipedia.org/

บ้านเมืองถูกปกครองโดยสงบจนกระทั่งปีค.ศ. 1483 พระอนุชาริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์พยายามยับยั้งตระกูลวูดวิลล์และพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ที่แต่งงานด้วยอย่างลับๆ ในการมีอำนาจในการปกครองแทนพระราชโอรสของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ซึ่งขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ และพระองค์ก็ทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของตนเองและทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 โดยอ้างความถูกต้องของการสมรสของเอลิซาเบธ วูดวิลล์กับพระเชษฐาเป็นข้ออ้าง  ทำให้เกิดความไม่สงบในหลายๆแห่งของอังกฤษ เพราะประชาชนหลายคนต่างก็สงสัยว่าพระองค์ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระอนุชา

ในปีค.ศ.1485 เฮนรี ทิวดอร์ผู้เป็นพระญาติห่างๆ ทางสายแลงคาสเตอร์อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ทรงได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดและสังหารพระองค์ได้ในยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ ต่อมาในปีค.ศ. 1487 ทางฝ่ายยอร์คก็ลุกขึ้นต่อต้าน ทำให้ผู้สืบสายของฝ่ายยอร์คถูกคุมขังเป็นจำนวนมากแต่การต่อต้านก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ประปรายจนกระทั่งเพอร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) ผู้อ้างสิทธิฝ่ายยอร์คถูกสังหารปี ค.ศ. 1499 บทสรุปของสงครามครั้งนี้คือมีราชวงศ์ใหม่เกิดขึ้นนั่นก็คือราชวงศ์ทิวดอร์ซึ่งเกิดจากการรวมราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์คโดยการแต่งงานระหว่างเฮนรี ทิวดอร์และพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ค สงครามครั้งนี้ทำให้เหล่าขุนนางเสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้อำนาจของขุนนางลดน้อยลงและถูกแทนที่ด้วยอำนาจของพ่อค้าและชนชั้นกลาง

การที่อังกฤษเกิดสงครามในลักษณะการแย่งชิงบัลลังก์กันนั้นนั่นเป็นเพราะว่าอำนาจการปกครองที่เป็นอำนาจสูงสุดทำให้แต่ละราชวงศ์ต้องการที่จะเป็นเจ้าของประเทศ แม้ว่าการเกิดสงครามในครั้งนี้ทำให้เหล่าขุนนางเสียชีวิตจำนวนมากรวมถึงความเสียหายต่างๆในบ้านเมืองแต่ผลของสงครามที่ทำให้ระบบกษัตริย์ในประเทศอังกฤษเข้มแข็งขึ้น อำนาจของขุนนางลดลงทำให้อำนาจของพ่อค้ามีมากขึ้นและมีผลต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน
     

อ้างอิง 

ชาโบตั๋น.สงครามดอกกุหลาบ.สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก:
http://my.dek-d.com/22569/story/view.php?id=516020

นัตยา.  ตำนานสงครามดอกกุหลาบ. สืบค้นเมื่อ  23 กันยายน 2559, จาก:
http://mblog.manager.co.th/natayaa/cxMarket-Bosworth-52/

European wars. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559, จาก: http://europeanwars.blogspot.com/2015/02/blog-post_55.html

น้ำเงิน  บุญเปี่ยม.  (2524).  ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราคำแหง.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น