หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

30 ธ.ค. 2559

สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า (Bermuda Triangle)

โดย ณัฏฐณิชา วินทะไชย

เหตุการณ์ความลึกลับของการหายไปของเครื่องบินและเรืออย่างไร้ร่องรอยนั้น นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวความลึกลับและเป็นปริศนาที่ผู้คนบนโลกนี้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการหายไปในพื้นที่ของสองสามเหลี่ยมมรณะ คือ"สามเหลี่ยมเมอร์มิวด้า" (Bermuda Triangle) เรื่องราวดังกล่าวก็ยังคงเป็นปริศนาที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังมีการกล่าวถึงเรื่องราวของพื้นที่อาถรรพ์นี้อยู่บ่อยครั้ง
 
“สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า” สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าคือสถานที่ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติคทางภาคตะวันตก ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเรื่องราวลึกลับขึ้น สถานที่นี้เริ่มต้นจากบริเวณตอนเหนือของเบอร์มิวด้าไปจนถึงตอนใต้ของรัฐฟลอริดา-และจากฟลอริดามุ่งตรงไปทางตะวันออกในแนวทำมุมสี่สิบองศากับเส้นรุ้ง พาดผ่านบาฮามัสและเปอร์โตริโก จากนั้นก็ย้อนเฉียงกลับไปสู่ทางใต้ตอนเหนือของเบอร์มิวดาอีก พื้นที่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นอาณาบริเวณที่เชื่อมโยงกันคล้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม และอาณาบริเวณรูป


สามเหลี่ยมแห่งนี้นี่ละที่เป็นแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์ลี้ลับเหนือธรรมชาติ และน่ามหัศจรรย์ใจขึ้น 
ที่มา: http://www.tlcthai.com/

สิ่งลึกลับและเหลือเชื่อที่พูดถึงนี้ เริ่มต้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1945 และเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ว่ามีเหตุการณ์ลี้ลับเกิดขึ้น ก็เนื่องจากมีทั้งเครื่องบินจำนวนมากกว่า 100 เครื่อง และเรือเดินสมุทรอีกจำนวนมหาศาลที่เดินทางผ่านมาในบริเวณนี้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยในบรรยากาศและพื้นทะเลของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลืนกินชีวิตมนุษย์นับพันและพาหนะจำนวนมากไปภายในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีแม้แต่ซากศพหรือเศษชิ้นส่วนใดๆของเรือและเครื่องบินเพียงแต่ซากเดียว

จากเหตุการณ์ที่เคยผ่านมาในอดีต จะพบว่า โดยส่วนมากเครื่องบินที่สูญหายไปเหนือพื้นทะเลแห่งนี้ จะหายจากการติดต่อกับฐานปฏิบัติการณ์หรือสถานีปลายทางไปก่อนที่จะหายตัวไป และแม้ว่าในช่วงนั้นจะมีสภาพของบรรยากาศหรือทัศนะวิสัยที่สงบแจ่มใส  แต่พอถึงช่วงเวลาที่มีเครื่องบินขับผ่านมาที่บริเวณนี้ เครื่องบินเหล่านั้นก็จะหายตัวไปเองอย่างทันทีแบบไม่มีร่องรอยใดๆ การหายสาบสูญที่โด่งดังมากที่สุดจนทำให้ชาวอเมริกันต้องให้ความสนใจกับที่แห่งนี้ ก็คือ "การหายสาบสูญของฝูงบิน 19" ฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐ ที่หายสาบสูญไปพร้อมกันทั้งฝูง ประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทีบีเอ็ม อแวงเกอร์ห้าลำ ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกบิน พร้อมกับชีวิตนักบินและพลเรือนประจำเครื่องรวม 14 นาย ในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1945 นิตยสารอเมริกันลีเจียน ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1962 ตีพิมพ์ว่าก่อนการหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ผู้บังคับฝูงบินได้กล่าวว่า "เรากำลังเข้าสู่เขตน้ำขาว ไม่มีอะไรดูปกติเลย เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน น้ำทะเลเป็นสีเขียว ไม่ใช่สีขาว"


ที่มา: http://img.tlcdn1.com/

ด้วยความลึกลับตามที่กล่าวมานี้ ทำให้สามเหลี่ยมเบอร์มิวดากลายเป็นบริเวณต้องห้ามและเป็นฮือฮาไปทั่วทั้งโลก อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีผู้ใดที่สามารถให้คำตอบของคำถามที่แสนพิศดารนี้ได้อย่างแจ่มชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานการไขปริศนาความลึกลับบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ที่อธิบายโดยศาสตราจารย์โจเซฟ โมนาแกน และ เดวิด เมย์ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโมนาช กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย การศึกษาสรุปว่า บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เป็นพื้นที่ที่มีการสะสมของก๊าซมีเธนใต้ท้องทะเลอยู่เป็นจำนวนมาก จนก๊าซเกิดการปะทุขึ้นสู่ท้องฟ้าเหนือท้องทะเล  ก๊าซมีเธนเหล่านี้เกิดการขยายตัวเป็นวงกว้างโดยรอบ ทำให้วัตถุใด ๆ ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ และจะต้องถูกดูดกลืนจนจมลงสู่ห้วงทะเลลึกอย่างรวดเร็วในที่สุด 

ความลึกลับและความอาถรรพ์ของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงยังคงปรากฏอยู่ต่อไป  ความพิศวงที่น่าติดตามของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้านี้ก็ยังคงดึงดูดคนที่สนใจเข้าไปอยู่เรื่อยๆ หากเรื่องราวที่น่าพิศวงนี้ยังไม่สามารถคลี่คลายได้ ก็อาจจะเป็นการดีที่ทำให้เรื่องราวนี้ยังมีความน่าสนใจที่เป็นเสน่ห์และชวนติดตามต่อไป


อ้างอิง

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (Bermuda Triangle @ Atlantic Ocean) และผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์.2559. ตำนานที่น่าสนใจ. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก: http://www.tumnandd.com/สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา-bermuda-triangle

สามเหลี่ยม เบอร์มิวดา The Bermuda Triangle ไขปริศนา น่านน้ำอาถรรพ์ หรือแค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ?.2559.truelife.สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก: http://travel.truelife.com/detail/53033

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก:  https://th.wikipedia.org/wiki/สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น