หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

22 พ.ค. 2559

วิกฤตการณ์เบอร์ลิน

โดย จุรีพร มณีคะ

ในภาวะที่สังคมต้องพบเจอกับวิกฤตการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเกิดจากมนุษย์ที่เป็นผู้กระทำขึ้นเองซึ่งส่งผลให้เกิดการคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ของพลเมือง เช่นวิกฤตการณ์ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างอภิมหาอำนาจที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน หรือความขัดแย้งระหว่างผู้นำของชาติมหาอำนาจ ซึ่งวิกฤตการณ์เหล่านี้จะก่อให้เกิดหายนะต่อสังคมโลกดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนี ซึ่งเป็นฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่ายแพ้สงครามให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร คืออังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต เป็นผลให้ประเทศเยอรมันถูกแบ่งออกเป็นิ4 ส่วน โดยสามส่วนได้มีการปกครองร่วมกันของประเทศมหาอำนาจตะวันตก คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ซึ่งปกครองในส่วนของเยอรมนีตะวันวันตก ส่วนเยอรมนีตะวันออกปกครองโดยโซเวียตหรือรัสเซีย เบอร์ลินซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมัน ตั้งอยู่ทิศตะวันออกจึงตกอยู่ใต้การปกครองของโซเวียต



เยอรมนีภายใต้การปกครองของ 3 ประเทศอันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณะเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันตกมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ในขณะที่เยอรมนีที่อยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียตได้จัดตั้งเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีหรือเยอรมนีตะวันออก ใช้รูปแบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ระหว่างการแบ่งเยอรมนีออกเป็นประเทศเยอรมมีตะวันออกและประเทศเยอรมนีตะวันตกซึ่งทั้ง 2 ประเทศ ก็ยังสามารถเดินทางข้ามเขตแดนมาหาสู่กันได้

ต่อมาในภายหลังประเทศสัมพันธมิตร 3ประเทศ คืออังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาเกรงว่าประเทศเยอรมนีจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองตามโซเวียต ซึ่งโซเวียตปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทั้งสามประเทศดังกล่าวจึงบีบบังคับให้มีการแบ่งเบอร์ลินซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีที่ตั้งอยู่ฝั่งของตะวันออกของประเทศเยอรมนีตะวันออกและอยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียตออกเป็น 4 ส่วนยึดครอง คือ ส่วนที่ยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เรียกว่าเบอร์ลินตะวันตก และส่วนที่ยึดครองโดยโซเวียต เรียกว่าเบอร์ลินตะวันออก จึงส่งผลให้มีพื้นที่ประชาธิปไตยเล็กๆ เกิดขึ้นท่ามกลางการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของโซเวียตในประเทศเยอรมนีตะวันออก

ในปี ค.ศ. 1948 โซเวียตได้ปิดกั้นเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ที่จะผ่านไปยังเบอร์ลินตะวันตกและยังตัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้ 3 ประเทศสัมพันธมิตรไม่สามารถส่งอาหารและสินค้าต่างๆไปยังเบอร์ลินตะวันตกได้ เพื่อบีบบังคับให้ประเทศสัมพันธมิตรที่ยึดครองเบอร์ลินตะวันตกละทิ้งเบอร์ลินตะวันตกไปเสีย โดยการปิดล้อมของโซเวียตครั้งนี้ใช้เวลา 1 ปี แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องบินขนส่งอาหาร สินค้าต่างๆ แทนการขนส่งทางบก และทางน้ำ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงนำไปสู่การแบ่งเยอรมนีออกเป็น 2 ประเทศและแบ่งเบอร์ลินออกเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร



เนื่องจากเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศและเบอร์ลินถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนทำให้มีการปกครองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โซเวียตยึดครองเยอรมนีตะวันออกโดยปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยิ่งนานวันเยอรมนีตะวันออกยิ่งมีความเลวร้ายมากขึ้น ประชาชนยากจน เครื่องอุปโภค บริโภคขาดแคลน ทุกสิ่งอย่างที่ประชาชนหามาได้ส่วนใหญ่ตกเป็นของรัฐบาลกลาง และเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ทำให้ชาวเบอร์ลินตะวันออกเริ่มมีการอพยพเพื่อแสวงหาประชาธิปไตยโดยมุ่งหน้าสู่เบอร์ลินตะวันตกมากขึ้น ซึ่งการอพยพดังกล่าวทำให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกต้องสร้างกำแพงกั้นไว้ เรียกกันว่ากำแพงเบอร์ลิน แต่ก็ยังมีชาวเบอร์ลินตะวันออกลักลอบหลบหนีเนื่องจากทนการปกครองของโซเวียตไม่ไหว ส่งผลให้เกิดความสูญเสียมีผู้เสียชีวิตจาการหลบหนีเป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1989 เป็นยุคที่สหภาพโซเวียต มีนาย มิคาอิล กอบาชอฟ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ได้มีการทดลองปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นในเยอรมนีตะวันออกและเกิดการประท้วงอย่างสงบครั้งใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า การเดินขบวนวันจันทร์ ซึ่งการประท้วงดังกล่าวสืบเนื่องมาจากชาวเยอรมนีตะวันออกต้องการเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิประไตย และสิทธิในการเดินทางไปต่างประเทศได้อย่างเสรี การประท้วงในครั้งนั้นมีชาวเยอรมนีตะวันออกมาร่วมประท้วงเป็นจำนวนมากเป็นเหตุให้รัฐบาลไม่กล้าเข้าไปปราบปราม โดยเกรงว่าจะทำให้เกิดการนองเลือดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลประกาศกฎหมายให้สิทธิการเดินทางของพลเมืองเยอรมันตะวันออกได้อย่างเสรี ภายหลังการประกาศกฎหมายดังกล่าวทำให้ชาวเยอรมนีตะวันออกเดินทางมารวมตัวกันที่กำแพงเบอร์ลินเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะเดินผ่านกำแพงเบอร์ลินไปสู่ดินแดนเบอร์ลินตะวันออก เหตุการณ์ในครั้งนี้นำไปสู่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989



ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 นายมิคาอิล กอบาชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียต ยินยอมให้เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก ตัดสินใจอนาคตของตนเองโดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งส่งผลให้เยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกรวมตัวกันเป็นประเทศเดียวได้อย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ถือได้ว่าวิกฤติการณ์เบอร์ลินที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์เผชิญหน้ากันในสงครามเย็นและเกิดความตึงเครียดมากขึ้นส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศยุโรปกับสหรัฐอเมริกาและประเทศเสรีประชาธิปไตย เพื่อขจัดการแทรกแซงและอิทธิพลของคอมมิวนิสต์

อ้างอิง

กฤษฎา  มาลำโกน. 2553. สงครามเย็น. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: http://www.thaigoodview.com/node/74291.

ถิรวัฒน์ โรจน์สัตตรัตน์. 2557. สงครามเย็น. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: http://coolwarproject.blogspot.com/2014/01/blog-post_4215.html.

เสลา. 2552. กำแพงเบอร์ลิน. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9859.0.


กฤษฎา  มาลำโกน. 2553. สงครามเย็น. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: http://www.thaigoodview.com/node/74291.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น