หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

26 ธ.ค. 2558

ฝูงบินกามิกาเซ่ (Kamikaze)

โดย ปฏิภาณ แก้วเนตร

ช่วงนี้เราคงจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการก่อการร้ายในหลายๆประเทศซึ่งสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากโดยการก่อการร้ายมีหลายวิธีซึ่งหนึ่งในวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการก่อการร้ายคือ การพลีชีพไปพร้อมกับการก่อการร้ายซึ่งเป็นวิธีที่กระทำกันตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน โดยครั้งที่โด่งดังครั้งหนึ่ง คือ ครั้งที่นักบินรบของญี่ปุ่นได้ทำการพลีชีพไปพร้อมกับเครื่องบินรบซึ่งได้รับการขนานนามว่า กามิกาเซ่ (Kamikaze)

กามิกาเซ่ เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น คำว่า KAMI หมายถึง พระเจ้า และคำว่า KAZE หมายถึง ลม รวมแล้วมีความหมายว่า “ลมแห่งสวรรค์”  ซึ่งคำๆนี้ถูกนำมาใช้เรียกกองกำลังจู่โจมพิเศษของกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีนักบินพลีชีพขับเครื่องบินพร้อมระเบิดโจมตีข้าศึก


ฝูงบินรบแบบพลีชีพกามิกาเซ่

การกำเนิดหน่วยการโจมตีพิเศษกามิกาเซ่หน่วยแรก เริ่มจากนักบิน 24 คน ของนาวาโท อะไซกิ ทาไม อาจารย์สอนการบินทหารเรือ พร้อมกับมี 4 หน่วยย่อยที่เป็นพันธมิตรกัน คือ หน่วยชิคิชิมา หน่วยยามาโตะ หน่วยอาซิฮิ และหน่วยยามาซาคูราโดยมีเรือโท เซกิ ยูคิโอะ ที่เข้ามาเป็นคนที่ 24 เป็นผู้บังคับกองกำลังพิเศษนี้ ซึ่งเรือโท ยูคิโอะ ได้พูดหลังได้รับตำแหน่งว่า “โปรดให้ผมได้ทำหน้าที่นี้ด้วย”

อาสาสมัครนักบินของหน่วยโจมตีพิเศษนี้ไม่เคยขาดแคลนโดยส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษา อายุประมาณ 20 ปีและอายุที่น้อยที่สุดที่เข้าร่วมเป็นนักบินมีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น ซึ่งมีแรงจูงใจของอาสาสมัครมาจากความรักชาติ ด้วยต้องการนำเกียรติยศสู่วงศ์ตระกูล ไม่กลัวตายเพราะถูกปลูกฝังมาในวิถีแห่งนักรบหรือ Bushido โดยมีธรรมเนียมก่อนออกปฏิบัติการคือสวดมนต์และมอบเครื่องยศทางการทหาร ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของนักบินและยังสร้างแรงจูงใจให้กับคนรุ่นต่อไปด้วย ซึ่งทำให้จำนวนคนที่ต้องการเป็นนักบินมากกว่าจำนวนเครื่องบินด้วยซ้ำไปในการคัดตัวนักบิน นักบินที่มีประสบการณ์จะถูกกันตัวออกไปด้วยเหตุผลนักบินเหล่านี้มีความรู้มากโดยที่กองทัพต้องการผู้ฝึกสอนนักบินรุ่นใหม่ๆซึ่งจะมีประโยชน์ในระยะยาวมากกว่า


สิบตรี ยูคิโอะ อาราคิ (อุ้มลูกสุนัข) ถ่ายรูปกับเพื่อนร่วมฝูงบินก่อนภารกิจพลีชีพ เสียชีวิตด้วยวัย 17 ปี จากการโจมตีเรือรบอเมริกันใน ศึกโอกินาวา  ซึ่งเป็นนักบิน คามิคาเซ่ ที่อายุน้อยที่สุดที่พลีชีพ

การโจมตีครั้งแรกของฝูงบินกามิกาเซ่ที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับจากหลายๆฝ่ายคือ เรือลาดตระเวรของ ออสเตรเลีย ที่ชื่อ HMAS AUSTRALIAได้ถูกเครื่องบินบรรทุกระเบิดพุ่งเข้าชนแต่ระเบิดที่บรรทุกมาด้วยกลับไม่ระเบิด แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เรือเสียหายอย่างหนักแก่เรือและลูกเรือ การโจมตีครั้งนี้ไม่ใช่ฝีมือของหน่วยโจมตีพิเศษของ นาวาโท ทาไม แต่เป็นการปฏิบัติการของนักบินนิรนาม

25 ตุลาคม 1944 ฝูงบินกามิกาเซ่ที่มาพร้อมกับเครื่องบิน Zero มีเรือโท เซกิ เป็นผู้นำได้โจมตีเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ Uss St.Lo ซึ่งมีเครื่องบินเพียงลำเดียวที่พุ่งชนเรือได้สำเร็จแต่เพียงลำเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้เรือเสียหายหนักเพราะระเบิดที่ติดมากับเครื่องบินได้ระเบิดและเกิดเปลวไฟลุกท่วมเรือและเครื่องบินอีกหลายลำของญี่ปุ่นก็ได้สร้างความเสียหายให้กับเรือรบอีกมากมาย

แม้ว่าฝูงบินกามิกาเซ่จะสร้างความเสียหายและทำลายขวัญแก่สหรัฐเป็นอย่างมากแต่เนื่องจากการโจมตีเป็นการโจมตีแบบใช้ชีวิตแลกในภาวะขาดแคลน ญี่ปุ่นจึงไม่สามรถที่จะเอาชนะในสงครามครั้งนั้นได้โดยนักบินพลีชีพกามิกาเซ่เสียชีวิตไปกว่า 1387 นาย ซึ่งผู้เสียชีวิตหลายคนเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย

อ้างอิง

มาทำความรูจักนักรบ  Kamikaze (2555). สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558, จาก: http://board.postjung.com/641259.html

วิกิพีเดีย. (2558).คะมิกะเซ่. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/Wik/คะมิกะเซะ

ขุนเพชรขุนราม.(2554).ประวัติของหน่วยนักบินกามิกาเซ่ ของญี่ปุ่นในสงครามโลก.สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558, จาก: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=goirish2011&month=12-2011&date=23&group=23&gblog=17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น