หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

26 ธ.ค. 2558

สุเหร่าสีน้ำเงิน “บลูมอสก์” (Blue Mosque)

โดย ปาณิศา งามคุณ

“บลูมอสก์” (Blue Mosque) สุเหร่าสีน้ำเงิน หรือสุเหร่าสีฟ้าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองนครอิสตันบูล หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสุเหร่าสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan ahmet I) เป็นสุเหร่าที่มีแรงบันดาลใจมาจากการสร้างที่ต้องการเอาชนะและต้องการให้มีขนาดใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียในสมัยนั้น ซึ่งวิหารเซนต์โซเฟียได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง

แม้สุเหร่าสีน้ำเงินนี้จะไม่ได้เป็น 1 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกแต่ก็เป็นความพอใจขององค์สุลต่านอาห์เมตที่ 1 แล้ว แม้องค์สุลต่านอาห์เมตที่ 1 จะอยู่ชื่นชมสุเหร่าสีน้ำเงินแห่งนี้ได้เพียงปีเดียว พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยอายุ 27 พรรษา



สุเหร่าสีน้ำเงินนี้สร้างขึ้นในเมืองอิสตันบลู  ประเทศตุรกี สร้างขึ้นในสมัยสุลต่านอาห์เมตที่ 1 ในปีค.ศ. 1609 ถึง 1616 มีแรงบันดาลใจในการสร้างคือต้องการเอาชนะหรือสร้างมัสยิดให้มีขนาดใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียของศาสนาคริสต์ เพราะวิหารเซนต์โซเฟียเคยเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง มีสุลต่านหลายพระองค์ต้องการสร้างมัสยิดที่มีขนาดใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียมาแทบทุกยุคสมัยแต่ไม่มีใครทำสำเร็จ มีเพียงสุลต่านอาห์เมตที่ 1 และเมห์เมตอาอา (Mehmet) สถาปนิกผู้ออกแบบ เขาต้องการให้โลกรู้ว่าเขามีความสามารถเหนือกว่าผู้ออกแบบวิหารเซนต์โซเฟีย จึงออกแบบให้มีขนาดใหญ่และอลังการกว่าวิหารเซนต์โซเฟีย

สุเหร่าแห่งนี้ประดับด้วยกระเบื้องอัซนิค บนกำแพงชั้นในที่มีสีฟ้าสดใสลายดอกไม้ต่างๆเช่นกุหลาบ ทิวลิป คาเนชั่น ฯลฯ โดยหันหน้าเข้าวิหารเซนต์โซเฟียเพื่อประชันความงามกันคนละฝั่ง ถ้ามองจากด้านนอกวิหารจะมองเห็นหอสวดมนต์ 7 หอ ซึ่งปกติมัสยิดจะมีหอสวดมนต์เพียง 1 หรือ 2 หอ แต่มัสยิดแห่งนี้มี หอมินาเร็ตทั้ง 7 หอ



เมื่อเริ่มสร้างองค์สุลต่านรับสั่งให้สร้างหอสวดมนต์เป็นทองคำ แต่การสร้างหอทองคำต้องใช้ค่าก่อสร้างสูงมากและเป็นการไม่ควร ขณะเดียวกันเมห์เมตก็ต้องทำให้องค์สุลต่านอาห์เมตพอพระทัยด้วย เมห์เมต อาอา จึงหาทางออกด้วยการเล่นคำเพราะคำว่าทองคำในภาษาตุรกี เรียกว่า อัลทึ่น (Altin) หรือ หก(Alti) เขาจึงสร้างหอสวดมนต์ 6 หอ แต่หลังจากที่สร้างเสร็จแล้ว กลับไปยิ่งใหญ่เทียบเท่าสุเหร่าที่นครเมกะ ที่มีหอสวด 6 หอ  จึงต้องสร้างเพิ่มขึ้นมาอีก1 หอ และกลายเป็น 7 หอในปัจจุบัน ตกแต่งด้วยหน้าต่าง 260 บาน สลับด้วยกระจกสีอันน่าวิจิตร มีพื้นที่ให้ละหมาดกว้างขว้าง มีขนาดใหญ่ ภายในประกอบด้วย โรงเรียนสอนศาสนา โรงพยาบาล ที่พักสำหรับขบวนคาราวาน โรงครัวต้มน้ำ ปัจจุบันเปิดให้เข้าไปทำละหมาด 24 ชั่วโมง และช่วงกลางคืนในฤดูร้อนจะมีการแสดงแสงสีเสียงในทุกค่ำคืน

สุเหร่าสีน้ำเงินแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับที่ 6 จากสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าสนใจของอิสตันบลู และได้รับรางวัล Traveller's Choice ในปี 2015

จะเห็นได้ว่าสุเหร่าสีน้ำเงินนี้แม้จะสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจที่ตัวข้าพเจ้ามองแล้วก็แปลกอยู่ที่สร้างขึ้นเพื่อความอยากเอาชนะ แต่ก็ทำให้รู้ว่าคนในสมัยนั้นมีความสามารถด้านการออกแบบอย่างมากและใส่ใจทุกกระบวนการ และการสร้างสุเหร่าสีน้ำเงินแห่งนี้ก็สามารถใช้ประโยชน์กับสถานที่แห่งนี้อย่างมากมายมานานนับหลายปีแล้ว  เช่น โรงเรียนสอนศาสนา  โรงพยาบาลและมีพื้นที่สำหรับการทำละหมาดไว้ให้สำหรับผู้ที่ต้องการทำละหมาดตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีข้อห้ามว่าผู้หญิงต้องมีผ้าคลุมหัว และห้ามเข้าเมื่อมีการทำพิธีละหมาดเพราะจะไปรบกวนผู้ทำพิธี

อ้างอิง

Cherokee1 พาท่องตุรกีดินแดนแห่งสองทวีป ตอนที่ 5 อิสตันบูล (Istanbul) ตำนานความยิ่งใหญ่จากไบแซนไทน์สู่จักรวรรดิออตโดมัน .(2554).สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2558, จาก : http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E11328441/E11328441.html

อิสตันบลู3ความยิ่งใหญ่ของสุเหร่าสีน้ำเงิน และวิหารเซนโซเฟีย . (2557). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557 จาก : http://witchy-followme.blogspot.com/2014/01/3-mosque-of-hagiasophia-blue-mosque-1.html?m=1

สุเหร่าสีน้ำเงิน สุเหร่าสีฟ้า และวิหารเซนต์โซเฟีย. (2558). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2558. จาก : http://www.oceansmile.com/Turkey/St.Sophia.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น