หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

27 ธ.ค. 2558

เครื่องแบบทหารเยอรมันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

โดย สุเมธา ธรรมทินโน

เสื้อผ้านั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในแต่ละพื้นที่นั้นก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์การใช้งานและมีการพัฒนาเรื่อยมา และเมื่อเกิดความเจริญระดับหนึ่งที่ผู้คนมีความคิดเห็นไม่ตรงกันความแตกแยกจึงก่อให้เกิดสงคราม และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น สิ่งที่ทำให้ผู้คนจดจำภาพของกองทัพเยอรมันได้นั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในนั้นคือเครื่องแบบนายทหารทั้งหลาย ซึ่งแต่ละชุดนั้นจะแสดงถึงระดับชั้นยศ ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ที่แตกต่างกันออกไป แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการผลิตนั้นคือใครกัน?

ในปี 1931 ฮูโก้ บอสส์ (Hugo Boss) เจ้าของแบรนด์ห้องเสื้อชื่อเดียวกันกับตัวเขา เมื่อสภาพเศรษฐกิจเยอรมันดิ่งลงเหว ในช่วงเวลานั้นจะมีใครที่สนใจแฟชั่นหรือเสื้อผ้า เมื่อยอดขายย่ำแย่บริษัทจึงมีหนี้ก้อนโตต้องแบกรับ เขาเหลือเพียงเครื่องจักรเย็บ 6 ชุดสุดท้าย ธุรกิจของเขาเดินทางมาสู่จุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อเขาเห็นช่องทางทำกำไรเขาเข้าร่วมพรรคนาซี และทุกอย่างก็เปลี่ยนธุรกิจเติบโตขึ้น 10 เท่าในปีเดียวด้วยคอนเซ็ปที่ว่าดูดี มีพลังและแฝงความน่ากลัวเอาไว้ และในปี 1934 บอสส์ก็ได้โอกาสทองอีกครั้งเมื่อเขาได้สัญญาเป็นผู้สนับสนุนด้านเครื่องแต่งกายของหน่วย NSKK, SS, SA, ยุวชนนาซี และหน่วยอื่นอีกมากมายในเครือนาซี ที่มีสมาชิกอยู่หลายล้านนายในช่วงสงคราม แม้ว่าบอสส์จะถูกปรับหนักหลังสงครามจบลงเนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนพรรคนาซี แต่ธุรกิจของเขาก็สามารถอยู่รอดและกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์เสื้อผ้าที่หรูหราในปัจจุบัน

ตัวอย่างเครื่องแบบของทหารเยอรมันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีดังนี้


เครื่องแบบของทหารราบ
ที่มา: http://www.iseehistory.com/

เครื่องแบบของทหารราบที่สามารถเห็นเป็นประจำตามภาพยนตร์

การแต่งกายของทหารราบหมวกเหล็กสีเทา(สำหรับชั้นยศที่ต่ำกว่าสัญญาบัตร)จะมีสัญลักษณ์นกอินทรีกางปีกครึ่งเดียวเกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะติดอยู่ อีกจะเป็นธงชาติเยอรมัน มีกระดุมห้าเม็ดสีเงิน คอปกเสื้อเป็นสีเทาเข้ม อินทนูที่ไหล่เป็นสีน้ำเงินเข้มมีขลิบสีขาว ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่แสดงถึงเหล่าทหารราบ


เครื่องแบบของพลประจำรถถังหรือปืนอัตราจร (ปืนใหญ่)
ที่มา: http://www.iseehistory.com/

เครื่องแบบของพลประจำรถถังหรือปืนอัตราจร (ปืนใหญ่)

ปกติจะแต่งกายด้วยเครื่องแบบสีดำเพื่อปกปิดรอยเปื้อนของคราบน้ำมัน ยกเว้นในกรณีที่เป็นพลประจำรถถังติดปืนใหญ่ หรือรถถังล่ารถถัง จะแต่งกายด้วยเสื้อเอวสั้นสีเทาเขียว นอกจากนี้ทหารปืนใหญ่บางส่วนก็แต่งกายด้วยเสื้อสีเขียวแทนสีดำเนื่องจากสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากฝ่ายศัตรู โดยเฉพาะทหารปืนใหญ่ที่ปฏิบัติงานนอกตัวรถ ไม่เหมือนทหารประจำรถถังที่อยู่ภายในตัวรถ


เครื่องแบบในสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขา
ที่มา: http://www.iseehistory.com/


เครื่องแบบในสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขา

ลักษณะของเครื่องแบบที่แตกต่างคือ หมวกแก๊ปตัดเย็บด้วยเนื้อผ้าทูนิคชนิดเดียวกับเสื้อเครื่องแบบ ด้านข้างของหมวกติดสัญลักษณ์รูปดอกไม้สีทองชื่อว่าดอก เอ-เดอล-วายซ์ (Edeweiss) เสื้อแจ็กเก็ตเป็นผ้าคอตตอนเพื่อใช้กันความหนาวเย็นในพื้นที่สูง รองเท้าบู้ตสั้นคุณภาพดี


เครื่องแบบทหารอากาศ
ที่มา: http://www.iseehistory.com/

เครื่องแบบทหารอากาศ

ลักษณะเครื่องแบบทหารอากาศเป็นเสื้อทูนิคสีฟ้าเทา ที่คอปกติดสัญลักษณ์เป็นรูปนกบินสามตัวแสดงถึงยศสิบเอกพื้นเครื่องหมายเป็นสีเลือดหมู เมื่อออกสู่สนามรบจะใส่เสื้อคลุมสีเขียวหรือสีพรางทับเครื่องแบบสีเทา แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่จะทำการรบในชุดปกติโดยไม่สวมเสื้อคลุมทับแต่อย่างใด ประดับเครื่องหมายของกองทัพอากาศเยอรมันรูปนกอินทรีกางปีกอยู่บนเครื่องหมายสัวัสดิกะ พร้อมกับหมวกเหล็กสีเทาดำ


เครื่องแบบทหารพลร่ม
ที่มา: http://www.iseehistory.com/

เครื่องแบบทหารพลร่ม

สีหมวกเสื้อกางเกงเป็นสีกากี หมวกเหล็กจะแตกต่างออกไปขอบหมวกจะไม่ยื่นลงมาปกป้องบริเวณใบหูและศีรษะด้านหลัง เสื้อคลุมสีเขียวสวมทับเครื่องแบบกองทัพอากาศ มีแนนกระเป๋าบริเวณหัวไหล่เปิด-ปิดด้วยซิปเพื่อความสะดวก เสื้อคลุมสีเขียวจะคลุมยาวถึงเป้ากางเกง ชุดเครื่องแบบอาจเปลี่ยนไปตามห้วงของสงครามหรือตามภูมิประเทศ

สงครามนั้นสร้างทั้งความเจ็บปวด สร้างความสูญเสียให้กับทุกฝ่าย สร้งความทรงจำที่โหดร้ายติดตรึงไปชั่วลูกชั่วหลาน แต่ในมุมเล็กๆก็มีเรื่องน่าประหลาดใจที่ทำให้คนคนหนึ่งสามารถเอาตัวรอด ด้วยความรักความศรัทธที่มีต่ออาชีพของเขา


อ้างอิง

กิตติชาติ บุณยะภักดิ์. แบรนด์ดังที่สร้างตัวจากสงคราม. สืบค้นเมื่อ 30 กัยายน 2558, จาก: http://www.thairath.co.th/content/449972

(ม.ป.ป.). ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2558, จาก: http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711119

ศนิโรจน์ ธรรมยศ. การแต่งกายของทหารเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2558, จาก: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=vuw&date=13-07-2009&group=5&gblog=25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น