หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

29 พ.ย. 2558

สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย (Victoria) ราชินีผู้เหนือราชาทั้งปวง

โดย จิตตกร ธิลา

อังกฤษเป็นประเทศซึ่งเป็นเพียงเกาะเล็กๆแต่น่าทึ่งประเทศหนึ่ง เพราะเป็นจักรวรรดิสมัยใหม่ที่มีดินแดนมากที่สุดในโลก จนถูกขนานนามว่า ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน (the sun never set in the British Empire) คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าผู้ที่อยู่เบี้องหลังความสำเร็จดังกล่าวนี้คือสมเด็จพระราชินี Victoria  เธอนำพาประเทศอังกฤษสู่ความยิ่งใหญ่เทียบเท่าได้กับ พระเจ้า Alexander เพราะสามารถยืดเมืองขึ้นได้ไปถึงอินเดียและ แอฟริกา หลักฐานชิ้นสำคัญที่เป็นอนุสรณ์สถานแก่การได้รับชัยชนะครั้งนี้คือ เพชร Koh-I-Noor ที่ประดับอยู่บนมงกุฎของราชินีอังกฤษนั่นเอง
       
เจ้าหญิงวิกตอเรีย (Victoria) ทรงเป็นพระราชบุตรีพระองค์เดียวของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรเธิร์น (Prince Edward, Duke of Kent and Strathearn) ซึ่งเป็นบุตรองค์ที่ 4 ใน พระเจ้าจอร์จที่ 3 เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงประสูติที่พระราชวัง Kensington เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม คศ. 1819 และ เสด็จสวรรคตในวันที่ 22 มกราคม 1901 ด้วยอาการหลอดพระโลหิตแตกในสมอง หลังจากที่ได้ทรงครองราชย์เป็นเวลานาน 64 ปี ถือเป็นราชินีผู้ที่เคยครองราชย์นานที่สุดก่อนที่สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II) โค่นสถิติดังกล่าว


ที่มา: http://www.express.co.uk/        

ชีวิตในวัยเด็ก อาจจะพูดได้ว่าพระนางเจ้าวิกตอเรียเป็นคนที่ Lucky in game แต่ non lucky in family life เพราะชีวิตด้านครอบครัวของพระนางนั้นไม่สวยงามเท่าใดนัก พระราชบิดาของพระนางสิ้นพระชนฆ์เมื่อพระนางอายุ 6 ชันษา รวมถึงพระสวามีผู้เป็นที่รักก็ทรงสวรรคตเมื่อพระชนฆ์มายุ 42 ชันษา ในแง่ของการศึกษา ต้องเข้าใจบริบทของการศึกษาในยุคนั้นที่ไม่นิยมการส่งผู้หญิงไปเรียนหนังสือในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ทำให้ชีวิตในวัยเด็กของพระนางต้องอยู่ในจารีตเวียงวังอย่างเข้มงวด ภายได้การให้การศึกษาและคำแนะนำของ Louise Lehzen ผู้สอนพระนางทางด้านศาสนา ภาษาต่างประเทศ ปรัชญาต่างๆ พระนางต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอันเข้มงวด ทำให้ทรงอึดอัดบ้าง แต่ก็ตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่จะได้ขึ้นเป็นผู้นำและมีภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่

พระนางเจ้าวิคทอเรียทรงอภิเษกกับเจ้าชาย Albert แห่งเยอรมัน ทรงมีพระราชโอรสธิดา 9 พระองค์ในเวลา 17 ปีการมีโอรสธิดามากนี้ทำให้ เจ้าชาย Albert และ ราชินีวิกทอเรียได้ชื่อว่าเป็นปู่และย่าแห่งยุโรป เพราะ พระโอรสธิดา รวมถึงพระราชนัดดา ได้ทำการสมรสกับราชวงศ์ต่างๆใยบุโรป เช่นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เดนหมาก ในทางตรงกันข้าม เรื่องดังกล่าวก็ก่อให้เกิดการถ่ายทอดโรค hemophilia ในหมู่ราชวงศ์ยุโรปเช่นกัน เจ้าชาย Albert สิ้นพระชนม์ด้วยวัย 42 ปี นำความเสียใจมาให้แก่พระนางเจ้าวิกทอเรียเป็นอย่างมาก

ในยุคสมัยของพระนางเจ้าวิคทอเรีย อังกฤษดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจสู่การเป็นเจ้าอาณานิคม จริงๆแล้วอาณาจักรอังกฤษมีการแผ่ขยายอาณาจักรมานานก่อนการขึ้นครองราชย์ของพระนาง ตั้งแต่รัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 การแผ่ขยายอำนาจของอังกฤษมักจะไปเป็นในรูปของการตั้งบริษัทสัญชาติอังกฤษเพื่อทำการค้า แต่ในสมัยของพระนางมีปัจจัยที่ทำให้การขยายอณานิคมเป็นไปได้อย่างมาก เนื่องจาก ผลการวางรากฐานบริษัทสัญชาติอังกฤษในที่ต่างๆ สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก การปฏิวัติอุสาหกรรรมทำให้อังกฤษต้องแสวงหาวัตถุดิบและตลาดใหม่ๆ และการจัดการอาณาจักรให้มีเอกภาพทางการเมือง พระนางทรงจัดการความสัมพันธ์กับรัฐบาลและรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี ทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับ Lord Melbourne ในช่วงต้นราชการ แม้จะมีการเปลี่ยนก็ทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลทั้งหลาย

จักรวรรดิบริติชที่ 2 ในยุคของพระนางเจ้าวิคทอเรียเท่านั้นสรุปได้ว่าในปี 1920 พื้นที่ราว 25,899,881 ตารางกิโลเมตร และประชากรราว 400 ล้านคนได้เพิ่มเข้ารวมกับจักรวรรดิบริติช   กินพื้นที่ของประเทศ อเมริกา แคนนาดา บางส่วนของทวีปแอฟริกาไต้ อินเดีย ออสเตรีย พม่า มาเลเซีย และยังมีดินแดนที่อังกฤษไม่ได้ยืดครองแต่ได้ผลประโยชน์อย่างมากในการทำสนธิสัญญา เช่น จีน (สนธิสัญญานานกิง) ไทย (สนธิสัญญาเบาริ่ง) ที่สามารถยืดครองประเทศต่างๆได้มากมายอันเนื่องมาจาก ความทันสมัยของอาวุธยุโธปกรณ์ ต่างๆ และความฉลาดทางการทุต ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การยืดตนองอินเดียโดยทำให้เจ้าแต่ละรัฐรบกันเองให้อ่อนแอ หากจะกล่าวถึงความฉลาดทางการทุตที่เป็นตัวอย่างชัดเจน คือ การมีพระลิขิตของสมเด็จพระราชินีวิคทอเรีย ถึงเจ้าอินทวโรรสเจ้าผู้ครองล้านนนา เรื่อง การขอพระราชธิดา เจ้าดารารัศมีเป็นบุตรบุญธรรม แสดงถึงการใช้อุบายทางการทุตอย่างแยบคาย การขยายอำนาจของอังกฤษในรูปแบบของจักรวรรดิ นำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศอังกฤษเป็นอย่างมาก



ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสามารถอังกฤษได้ลดน้อยถอยลงและต้องทยอยคืนอิสรภาพให้แก่ประเทศต่างๆ อันเนื่องมาจากการทำสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษบอบช้ำเป็นอย่างมากแต่ผลกระทบจากการปกครองของอังกฤษก็ยังคงส่งผลทั้งด้านดีและเสียมาถึงยุคหลัง ในด้านดี เช่น อังกฤษได้วางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ ให้แก่ประเทศภายใต้เครือจักรภพ รวมทั้งการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการสมัยใหม่แพร่หลายไปทั่วโลก ส่วนในด้านเสีย ได้แก่ การนำเข้าทรัพยากรที่มีค่าจำนวนมากเกินไปโดยเจ้าของประเทศไม่ได้ยินยอม การซื้อทรัพยากรในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงจากสนธิสัญญาที่ไมเป็นธรรม แต่ขายสินค้าในราคาสูงจนเกิดการขาดดุลทางการค้า  การกลืนวัฒนธรรมเนื่องจากอังกฤษเผยแพร่วัฒนธรรมเข้าไปอย่างมาก เกิดการเลียนแบบวิถีชีวิตแบบตะวันตก รวมทั้งสร้างความแตกแยกจากการที่อังกฤษได้รวมเอาประเทศเล็กประเทศน้อยที่เป็นชนเผ่าต่างๆ รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งหลายๆชนเผ่าเหล่านี้มีภูมิหลังความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศเหล่านั้นหลังได้รับเอกราช

ชีวิตสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียสะท้อนให้เห็นถึงการชีวิตที่ต้องใช้ความสามารถและความพยายามอย่างมาก เพราะอาจจะพูดได้ว่า ในยุคนั้นการยอมรับผู้หญิงให้มีบทบาทสูงนั้นค่อนข้างน้อย พระนางต้องอาศัยความอดทนต่อคนและชีวิตอันโศรกเศร้าจากการสุญเสียพระราชสวามี ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการจัดการกับคนอย่างละมุนละม่อม เพื่อทำให้เกิดความมีเอกภาพ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่จักรรวรรดิอังกฤษ  การได้มาซึ่งอำนาจของพระนางอาจเป็นเพราะโชคช่วย แต่เพราะความสามารถของพระนางจึงทำให้พระนางดำรงในพระอิสริยยศอย่างสง่างาม และกลายเป็นพระราชินีผู้เป็นที่รักของชาวอังกฤษ


อ้างอิง
                                                                                                               
Queen Victoria Biography.(ม.ป.ป) สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก  http://www.biography.com/people/queen-victoria-9518355                                                                  
John Simkin.1997  Queen Victoria สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก http://spartacus-educational.com/PRvictoria.htm

The official website of British Monachy. Victoria.ม.ป.ป สืบค้นเมื่อ เมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก http://www.royal.gov.uk/historyofthemonarchy/kingsandqueensoftheunitedkingdom/thehanoverians/victoria.aspx                                                                                                                                                      
Wikipedia. British empire.(ม.ป.ป). สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/British_Empire

วิกิพีเดีย. สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558 https://th.wikipedia.org/                                           

BBC.Queen Victoria's Empire.2003 - Complete Documentary- สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก https://www.youtube.com/watch?v=N3Nt2DDLKmw

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2.5.61

    ไหนว่าผู้หญิงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ(ปกครองชมพูทวีป)ไม่ได้.. โดยเทคนิคผู้หญิงคนนี้ครองโลกทั้งใบแล้วด้วยซ้ำ

    ตอบลบ