หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

11 ธ.ค. 2557

เฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphics)

โดย ชลิตา สุทธิธรรม

อักขระโบราณที่ประกอบด้วยรูปภาพเล็กใหญ่หลากสีสันต่างๆ ถูกเขียนเรียงร้อยไว้บนผนังตามสุสานและวิหารของอียิปต์โบราณมากว่า 5000 ปี พวกเราต่างก็ทราบดีว่าภาพวาดเหล่านั้นคืออักษรภาพที่จารึกเรื่องราวอันลี้ลับต่างๆ ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ที่เรียกกันว่า อักษรเฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphics) แต่ทราบหรือไม่ว่าอักษรภาพเหล่านี้มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เราจะมาย้อนรอยเกี่ยวกับอักษร เฮียโรกลิฟฟิก กันค่ะ

เฮียโรกลิฟฟิก ถือว่าเป็นอักษรแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ยุคโบราณที่ถัดจาก อักษรลิ่ม มีลักษณะเป็นอักษรภาพ ที่เชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้นมาโดย เทพเจ้าโทห์ และเชื่อว่าอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนี้คือคำพูดของพระเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า จารึกอันศักดิ์สิทธิ์

อักษรเฮียโรกลิฟฟิกถูกค้นพบจากแท่งหินโรเซ็ตตา ซึ่งเป็นศิลาจารึกเรื่องราวต่างๆ ของอารยธรรมอิยิปต์ มีลักษณะเป็นแผ่นหินบะซอลต์สีดำ สูงประมาณ 140 เซนติเมตร กว้าง 72 เซนติเมตร ที่ถูกค้นพบขึ้น ณ เมืองโรเช็ตตา ประเทศอียิปต์ บนศิลาจารึกนั้นจะมีจารึกเป็นอักษร 3 ภาษา คือ อักษรเฮียโรกลิฟฟิก อักษรเดโมติก และอักษรกรีกโบราณ

แรกเริ่มอักษรเหล่านี้ยังไม่มีผู้ใดที่สามารถแปลความหมายได้  จนกระทั่ง  ฌอง-ฟรองซัว ฌองโปลิอง (Jean-Francois Champollion) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ที่ได้ทำการริเริ่มศึกษาและเป็นผู้ที่สามารถถอดความหมายของอักษรเฮียโรกลิฟฟิกได้สำเร็จในที่สุด ทำให้เขาสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะของอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนี้ สะกดคำโดยถือเสียงเป็นเกณฑ์ และตัวอักษรจริงๆ นั้นจะมีเพียง 66 ตัว ที่ใช้ประสมเป็นคำ และแทนเสียงพยัญชนะและสระในภาษาพูด ซึ่งอักษรบางตัวก็ใช้ซ้ำๆ กันได้ ชองโปลิองได้ทำการศึกษาภาษาโบราณนี้อยู่เป็นระยะเวลายาวนานถึง 14 ปี ซึ่งก็ทำให้เขาสามารถรวบรวมตำราไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาอียิปต์ได้สำเร็จ



อักษรภาพเฮียโรกลิฟิกเหล่านี้จะใช้สลักเรื่องราวเกี่ยวกับองค์ฟาโรห์ ราชวงศ์ กิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการปกครองแผ่นดิน และเรื่องราวทางศาสนา ซึ่งมักจะเห็นได้จากอักขระที่สลักบนหินที่ปรากฏตามวิหาร กำแพง หลุมฝังศพและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและฝีมือในการแกะสลัก จึงทำให้ไม่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้สะดวก ดังนั้นจึงได้เกิดอักษรอีกแบบหนึ่งที่ถอดออกมาจากรูปของอักษรเฮียโรกลิฟฟิก ซึ่งใช้ในการเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันของชาวอียิปต์ที่ชาวอียิปต์เรียกกันว่าอักษรเฮียราติก  (Heiratic) เป็นอักษรเขียนที่เป็นลายมือ ง่ายต่อการใช้งาน

ลักษณะการเขียนอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนั้นเราสามารเขียนไปได้หลายแบบ และหลายทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นทั้งแนวนอน จากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้าย แนวตั้งจากบนลงล่าง จะเห็นว่าเราสามารถเขียนได้ในทุกทิศทาง และการบอกทิศทางของอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนั้น เราจะสังเกตจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ซึ่งจะหันหน้าเข้าหา จุดเริ่มต้นของเส้นเสมอ ซึ่งวิธีการเขียนชื่อเฉพาะที่เป็นนามบุคคลด้วยอักษรภาพเฮียรกลิฟฟิก (ซึ่งจำกัดเฉพาะฟาโรห์และราชวงศ์เท่านั้น) จะเขียนอยู่ในกรอบรูปวงรีที่เรียกว่า คาร์ทูช (cartouches)



การค้นพบอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนั้น นับว่าเป็นการไขข้อปริศนาสิ่งลี้ลับต่างๆ ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ที่หลายคนเกิดข้อสงสัย ทำให้เราได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา เรื่องราวต่างๆ ของอียิปต์โบราณอย่างถูกต้องและแท้จริง การค้นพบอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนเริ่มกลับมาสนใจในประวัติศาสตร์อียิปต์อีกครั้ง จนมีการศึกษาเรื่องราวต่างๆ เพิ่มเติมจากจารึกอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนี้ ซึ่งก็ทำให้เราได้ทราบเรื่องราวของอารยธรรมอียิปต์โบราณว่ามีที่มาเป็นอย่างไรมาจนถึงทุกวันนี้

อ้างอิง

สำนักข่าวไทยมุสลิม [Online] Available from :  http://www.thaimuslim.com/view.php?c=3&id=8952 [Accessed 21th September 2014].

นางสาว นันทิชา  โตระจิตต์ [Online] Available from :  https://sites.google.com/site/hieroglyphinegypt/xaksr-heiy-ro-kli-fikh  [Accessed 21th September 2014].

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี [Online] Available from : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9F [Accessed 21th September 2014].

บัญชา ธนบุญสมบัติ  [Online] Available from :
http://www.gotoknow.org/posts/79399 [Accessed 21th September 2014].

Tnahra’s Blog [Online] Available from :
http://tnahra.wordpress.com/1/ [Accessed 21th September 2014].

ศรีธนต์ เยาว์ธานี  [Online] Available from :
http://sritone.blogspot.com/2012/09/blog-post_16.html [Accessed 21th September 2014].

1 ความคิดเห็น:

  1. ผู้ใดกันบ้างที่ไม่สมควรรับประทานฟาเทค ควรจะแจ้งหมอก่อนใช้ทุกคราว
    ไม่ใช่ว่าคนไหนทุกคนจะถือรับประทานก็ได้ เพราะอาจจะก่อให้กำเนิดอาการแพ้ โดยจะมีบุคคลหลายกรุ๊ปที่ไม่สมควรรับประทานยาฟาเทค ดังต่อไปนี้ ฟาเทค

    ตอบลบ