หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

20 เม.ย. 2557

ฟรานเชสโก เปตรากา (Francesco Petrarca)

โดย นางสาวจันทิมา  แซ่เอียะ

ฟรานเชสโก เปตรากา (Francesco Petrarca; 20 กรกฎาคมค.ศ. 1304 - 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1374) หรือที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่าเปตรากเป็นกวีและนักวิชาการชาวอิตาลีหนึ่งในบรรดานักวิชาการในช่วงแรกๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเขาเป็นที่รู้จักยกย่องในฐานะ "บิดาแห่งมนุษยนิยม"จากงานของเปตรากและส่วนประกอบอื่นๆ Pietro Bemboได้สร้างรูปแบบของภาษาอิตาลีในปัจจุบันขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16

เปตรากได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดประดิษฐ์ซอนเน็ต งานกวีนิพนธ์ซอนเน็ตของเขาได้รับยกย่องและเป็นที่รู้จักทั่วไปในยุโรปตลอดยุคเรอเนซองส์ซึ่งได้กลายเป็นแบบมาตรฐานสำหรับงานกวีนิพนธ์ในยุคต่อมา

(ภาพวาดเปตรากในจินตนาการ , http://th.wikipedia.org/wiki/เปตราก)

ซอนเน็ต (Sonnet)เป็นรูปแบบฉันทลักษณ์งานกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษแบบหนึ่ง พบมากในงานกวีนิพนธ์ของประเทศในยุโรปคำว่า "ซอนเน็ต" มาจากคำ Sonetในภาษาอ็อกซิตัน และ Sonettoในภาษาอิตาลี มีความหมายว่า "บทเพลงน้อยๆ"ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เริ่มมีการใช้ซอนเน็ตกับบทกวี  14 บรรทัดซึ่งมีรูปแบบสัมผัสที่เคร่งครัดและยังมีโครงสร้างแบบพิเศษผู้เขียนโคลงซอนเน็ตมักมีคำเรียกเฉพาะว่า "Sonneteer"

ซึ่งงานกวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือซอนเน็ตของเชกสเปียร์ซึ่งได้ประพันธ์โคลงซอนเน็ตไว้ถึง 154 บทและ กวีมักนิยมเขียนโคลงซอนเน็ตโดยใช้มาตรา Iambic Pentameterในงานประพันธ์ภาษาอังกฤษถ้าประพันธ์ด้วยภาษากลุ่มโรมานซ์จะนิยมใช้มาตราแบบ Hendecasyllable และ Alexandrine เช่นดังตัวอย่างโคลงซอนเน็ตของเชกสเปียรบทที่ 116 ใน 1 บทมี 14 บรรทัด ประพันธ์ด้วยมาตรา Iambic Pentameter กล่าวคือแต่ละบรรทัดประกอบด้วย 10 พยางค์ (หรืออาจเป็น 9-11 พยางค์ก็ได้) ลักษณะสัมผัสท้ายประโยคเป็นดังนี้ a-b-a-b / c-d-c-d / e-f-e-f / g-g

Let me not to the marriage of true minds (a)
Admit impediments, love is not love (b)
Which alters when it alteration finds, (a)
Or bends with the remover to remove. (b)
O no, it is an ever fixed mark (c)
That looks on tempests and is never shaken; (d)
It is the star to every wand'ring bark, (c)
Whose worth's unknown although his height be taken. (d)
Love's not time's fool, though rosy lips and cheeks (e)
Within his bending sickle's compass come, (f)
Love alters not with his brief hours and weeks, (e)
But bears it out even to the edge of doom: (f)
If this be error and upon me proved, (g)
I never writ, nor no man ever loved. (g)

อ้างอิง

วิกิพีเดีย.  (2556). เปตราก. สืบค้นเมื่อ30 มกราคม 2557,จาก th.wikipedia.org/wiki/เปตราก.

สิริสวัสดิ์โสรวาร ปรีดิ์มานกมลโชติ. (2553). ฟรานเชสโก เปตรากา และ ซอนเน็ต. สืบค้นเมื่อ30 มกราคม 2557,จาก http://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=vinitsiri.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น