หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

5 มี.ค. 2557

กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)

โดย ภาวิณี ยะลาเร้  

 ลีโอนาโด ดาร์วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี เขามีความคิดว่าการวาดภาพนั้นไม่ควรแสดงเพียงความเหมือนต้นแบบ แต่ควรแสดงอารมณ์ และความรู้สึกลึกๆ ในจิตใจของผู้ถูกวาดด้วย เขาจึงคิดว่า การวาดภาพอวัยวะที่เห็นจากภายนอกมันยังไม่พอ ยังต้องมีความรู้ถึงการทำงานของมันด้วยจึงทำให้ต้องผ่าชำแหละเพื่อดูเนื้อข้างในอย่างละเอียด

ความอยากรู้อยากเห็นของเขาที่ต้องการจะรู้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อลีโอนาโด เห็นชายชราคนหนึ่งที่กำลังจะตายในโรงพยาบาลที่ Florence หลังจากนั้นเขาได้จึงเขียนบันทึกว่า ต้องการที่จะผ่าศพชายคนนี้ เพื่อหาสาเหตุการตายและหลังจากที่ได้ผ่าศพ เขาก็พบว่า เส้นเลือดแดงของชายคนนั้นตีบมาก ซึ่งอาการดังกล่าวแสดงให้เขาเห็นว่าเป็นอาการผนังหลอดโลหิตแดงแข็ง (atherosclerosis) เป็นครั้งแรกในวงการแพทย์ลีโอนาโด นอกจากนี้เขายังได้บันทึกสภาพของตับชายคนนั้นว่าแห้งผาก แข็ง และซีด ซึ่งเป็นอาการของโรคตับแข็ง (cirrhosis)

กายวิภาคศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง รูปร่างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตคือศึกษาทั้งมนุษย์ สัตว์และพืช คำว่า Anatomy มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Ana หมายถึง Apart ซึ่งแปลว่า “แยกจากกัน”เป็นส่วนๆ และ Tomy แปลว่า A cutting ซึ่งแปลว่า “การตัด” เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงมีความหมายว่า “การตัดออกเป็นส่วนๆ” กายวิภาคศาสตร์มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับ วิชาคัพภวิทยา, กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ โดยมีรากฐานเดียวกันคือ วิวัฒนาการ กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น มหากายวิภาคศาสตร์(Gross anatomy) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตาเปล่า โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ใดๆที่ช่วยในการมองทั้งสิ้น

มหากายวิภาคศาสตร์ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกดังนี้

1.Surface Anatomy เป็นการศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างทั่วไปและสิ่งที่อยู่ใกล้พื้นผิว
2.Reginal Anatomy เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนของร่างกาย
3.Systematic Anatomy เป็นการศึกษาโครงสร้างระบบอวัยวะของร่างกาย

ต่อมาคือ จุลกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ที่ไม่สามารถศึกษาได้ด้วยตาเปล่าดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยมอง สิ่งที่ศาสตร์นี้ศึกษาคือ เซลล์วิทยา และ มัญชวิทยา หรือ เป็นการศึกษาโครงสร้างเกี่ยวกับเนื้อเยื่อ



ผลงานที่เป็นที่รู้จักในด้านของกายวิภาคศาสตร์

ภาพนี้มีชื่อว่า วิทรูเวียนแมน (Vitruvian Man) เป็นภาพที่เกิดจากการที่ ดาวินชี ศึกษาทุกส่วนของร่างกายอย่างละเอียด จนสามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทของวิทรูเวียน (สถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมัน) ได้สำเร็จ กล่าวคือร่างกายของคนเมื่อยืนกางแขนและขาจะแสดงให้เห็นว่าเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์เสมอ ภาพวาดภาพนี้เป็นงานชิ้นสำคัญของดาวินชีที่เป็นการเปิดประตูสู่ศาสตร์กายวิภาคครั้งสำคัญ                  


ภาพนี้คือ ภาพเปลือยของผู้ชายจากด้านหลัง (วาดระหว่างปี 1504-1506)

นอกจากสองภาพนี้แล้วยังมีภาพวาดทางกายวิภาคศาสตร์อีกมากมายของดาวินชี เช่น ภาพระบบเลือดและอวัยวะที่สำคัญของผู้หญิง (วาดระหว่างปี 1509-1510) ภาพแสดงความละเอียดอ่อนของกระดูกมือ (วาดประมาณปี 1510) ภาพรายละเอียดของไหล่และเท้า (วาดประมาณปี 1510) ภาพการศึกษาระบบทางเดินอาหาร ภาพตัดกระโหลกและรายละเอียดของฟัน ภาพการศึกษากายวิภาคของหัวใจ และภาพตัวอ่อนในมดลูก (วาดระหว่างปี 1510-1513) ภายหลังจากการเสียชีวิตของดาวินชีในปี 1519 ผลงานของเขานั้นหายไปเป็นเวลาถึง 400 ปี แต่ตอนนี้ผลงานของเขาจัดแสดงในนิทรรศการภาพวาดกายวิภาคมนุษย์ของดาร์วินชี ที่ใหญ่ที่สุด โดยจัดแสดงที่หอศิลป์สมเด็จพระราชชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (The Queen's Gallery) ที่พระราชวังบักกิงแฮม

จึงนับได้ว่าดาวินชีเป็นผู้บุกเบิกในศาสตร์กายวิภาค และศาสตร์นี้มีความสำคัญมากในทางการแพทย์เพื่อการเรียนรู้อวัยวะในร่างกายของมนุษย์ว่ามีหน้าที่อะไรและเวลามันเกิดอาการเจ็บหรือติดเชื้อขึ้นมาเราควรจะรักษามันอย่างไรจึงจะถูกต้องดังนั้นเราจะต้องดูแลรักษาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราให้อยู่กับเราไปให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ


อ้างอิง


สุทัศน์ ยกส้าน. (2557). ลีโอนาโด ดาวินซี. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557, จาก: http://www.gotoknow.org/posts/499259
         
อลังการภาพวาดกายวิภาค ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี. (2555). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557, จาก
http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059545&CommentReferID=21280709&CommentReferNo=11&

เฮนรี่ เกร์. (ม.ป.ป.). กายวิภาคศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557, จาก:    
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น