โดย สเมียร์ นาดี
เพราะความไร้ประสิทธิภาพของ องค์การสันนิบาติชาติ จึงทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม จากเหตุกาณ์ความสูญเสียครั้งนี้จึงได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติจึงได้ก่อกำเนิดขี้นในปี ค.ศ 1943
องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสมาชิกประกอบด้วยประเทศเอกราชต่างๆ จากทุกภูมิภาคของโลก จากจำนวนสมาชิกก่อตั้ง 51 ประเทศในปี ค.ศ. 1945 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
คำว่า “องค์การสหประชาชาติ” (The United Nations) นั้นได้นำมาใช้ครั้งแรกโดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เพื่อใช้เรียก “กองกำลังพันธมิตร” (Allied Forces) ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1945 ตัวแทนจาก 50 ประเทศทั่วโลกได้มาประชุมกันที่เมือง ซานฟรานซิสโก (San Francisco) เพื่อร่าง “กฎบัตรสหประชาชาติ” (The United Nations Charter) การประชุมครั้งนี้มีชื่อว่า“การประชุมว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ” (The United Nations Conference on International Organization) และ ณ ที่แห่งนี้เองที่ผู้เข้าประชุมได้ร่วมลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ
ในวันที่ 24 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1945 กฎบัตรสหประชาชาติได้รับการอนุมัติ และถือเป็นวันที่สหประชาชาติถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
แรกเริ่มที่ก่อตั้งขึ้น สหประชาชาติมีประเทศสมาชิก 51 ประเทศ ในปัจจุบันจำนวนประเทศสมาชิกได้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 200 ประเทศแล้ว (ในปัจจุบันมี 192 ประเทศ-ผู้แปล) องค์การดังกล่าวนี้ได้รับมอบหมายให้สนับสนุนค่ำจุนกฎหมายสากลและสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคมของทุกประเทศทั่วโลกด้วย
องค์การสหประชาชาติยังแบ่งออกเป็นหน่วยการบริหารย่อยอีกหลายหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยมีหน้าที่ดูแลในเรื่องที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างหน่วยบริหารหลักๆมี “สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ” (The United Nations General Assembly) “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” (Security Council of the United Nations) “องค์การอนามัยโลก” (World Health Organization) และ “กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ” (United Nations Children Fund-UNICEF)
วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อกฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือ มนุษยธรรม และ การส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน
กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาด้วย เจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ
หลักการขององค์การสหประชาชาติ
เพื่อให้องค์การสหประชาชาติสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กฎบัตรสหประชาชาติได้วางหลักการที่องค์การสหประชาชาติ และ ประเทศสมาชิกจะพึงยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินการระหว่างประเทศ ดังนี้
1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย รัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
2. หลักความมั่นคงร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และ ความมั่นคงร่วมกัน ดำเนินมาตรการร่วมกัน เพื่อป้องกัน และขจัดการคุกคามต่อสันติภาพ
3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ รัสเซีย และ จีน
4. หลังการไม่ใช้กำลัง และ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
5. หลักความเป็นสากลขององค์การ เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง
6. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน ปัญหาใดที่ประเทศสมาชิกอ้างว่าเป็นกิจการภายใน สหประชาชาติจะไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าแทรกแซง
ในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุม ดูแล ด้านต่างๆ ระหว่างประเทศ อาทิเช่น ด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษา ด้านการเงิน จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า องค์การสหประชาชาติเป็นองค์สำคัญที่ขาดไม่ได้
อ้างอิง
องค์การสหประชาชาติ:ความเป็นมาและหน้าที่ (The United Nations: History and Functions) 2557
สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557 จาก http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=183
องค์การสหประชาชาติ ( The United Nations ) สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557 จาก http://www.9bkk.com/article/education/the_united_nations.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น