หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

7 ม.ค. 2557

งานกระจกสี (Stained glass)

โดย จักริน โค้วประดิษฐ์

งานกระจกสีหมายถึง งานที่ใช้กระจกสีในการตกแต่ง ไม่เพียงแต่การตกแต่งหน้าต่างวัด โบสถ์ หรือมหาวิทยาลัยทางศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงศิลป์อย่างอื่นอีกมากมาย รวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีอื่นๆ การสร้างงานกระจกสีเป็นงานที่ช่างหรือศิลปินต้องมีฝีมือและมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อออกแบบและต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพื่อใช้ในการประกอบบานกระจกเพื่อความทนทาน

งานกระจกสีได้กลายมาเป็นศิลปะเต็มตัวและรุ่นเรื่องที่สุดในยุคกลางเมื่อมาใช้เป็น ทัศนศิลป์ ในการบอกเล่าหรือเล่าเรื่องราวต่างๆจากพระคำภีร์ไบเบิลสำหรับประชาชนผู้ไม่รู้หนังสืออ่านหนังสือไม่ออกตั้งแต่ประมาณ 950 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนถึงสมัยโรมาเนสก์และสมัยกอธิคยุคแรก ประมาณปี ค. ศ. 1240 หน้าต่างยังมิได้แบ่งเป็นช่องๆ เมื่อสร้างกระจกก็ต้องสร้างทั้งบานในกรอบเหล็กจึงทำให้ต้องประกอบไม่มีส่วนใดของหน้าต่างที่ช่วยแบ่งแรงกดดัน เช่นที่มหาวิหารชาร์ทร หรือทางตะวันออกของมหาวิหารแคนเตอร์บรี

เมื่อสถาปัตยกรรมกอธิควิวัฒนาการขึ้นหน้าต่างก็กว้างมาขึ้นทำให้มีแสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างมากขึ้น เมื่อหน้าต่างกว้างขึ้นก็มีการแบ่งเป็นช่องๆ ด้วยแกนหิน  เมื่อมีแกนหินแบ่งทำให้ช่องตกแต่งภายในหน้าต่างหนึ่งๆ เล็กลงทำให้การทำหน้าต่างมีความซับซ้อนได้มากขึ้นตามลำดับ และขนาดของบานหน้าต่างทั้งบานก็ใหญ่ขึ้นไปอีกจนมาเจริญเต็มที่ในสมัยที่เรียกว่ากอธิควิจิตร ซึ่งมีอิทธิพลมาจากสมัยกอธิคเพอร์เพนดิคิวลาร์ ของอังกฤษ ที่เน้นเส้นดิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากงานหน้าต่างกระจกรอบมหาวิหารกลอสเตอร์เมื่อการใช้ความสูงในสมัยกอธิคทำได้ดีขึ้น ก็มีการนำไปใช้ในวัดและมหาวิหาร จากหน้าต่างสี่เหลี่ยมยอกโค้งกลายมาเป็นหน้าต่างที่มีลักษณะกลมมีชื่อว่า ”หน้าต่างกุหลาบ” ซึ่งมีการเริ่มทำที่ประเทศฝรั่งเศส จากการทำที่มีรูปทรงง่ายๆที่ทำการเจาะผนังหินบางๆ จนมาเป็นหน้าต่างล้อที่มีแกนเช่นหน้าต่างกุหลาบที่มหาวิหารชาร์ทร และยังคงเพิ่งความซับซ้อนขึ้นอีกเลื่อยๆ เช่นที่แซนท์ชาเปลที่ปารีส และหน้าต่างตาบาทหลวงที่มหาวิหารลิงคอล์น

ซึ่งการทำกระจกสี(Stained glass)ของแต่ละยุคสมัยจะมีการพัฒนาการความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นตามยุคสมัยมีความละเอียดอ่อนและความซับซ้อนมากขึ้นเลื่อยๆซึ้งยุคกลางขึ้นชื่อว่าเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และยังเป็นการคิดค้นวิธีเล่าเรื่องราวต่างๆตามพระคำภีร์ไบเบิลสำหรับประชาชนที่ไม่สามารถอ่านพระคำภีร์ได้อีกด้วย

อ้างอิง

Ahmad Y Hassan, The Manufacture of Coloured Glass (การผลิตกระจกสี) และ Assessment of Kitab al-Durra al-Maknuna (การวิเคราะห์ “Kitab al-Durra al-Maknuna”), History of Science and Technology in Islam (ประวัติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศอิสลาม) Retrieved 7 January 2014 from http://th.wikipedia.org/wiki/งานกระจกสี_7/01/2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น