หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

8 ม.ค. 2557

ครูเสด (Crusade) สงครามแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์

โดย อติคุณ มูลป้อม

ในศตวรรษที่ 11-13  เกิดสงครามครั้งใหญ่ขึ้น คือ สงครามครูเสดซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์กับชาวมุสลิม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะยึดครองนครเยรูซาเล็มอันเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ประเทศอิสราเอลหรือปาเลสไตน์

ในตอนเริ่มต้นของสงครามนั้นได้ปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งนครเยรูซาเล็มและเป็นที่ตั้งสำคัญของสามศาสนาคืออิสลาม ยูดาย และคริสต์ ซึ่งในปี ค.ศ. 1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์กเข้ายึดครองเมืองแบกแดด แล้วพวกสุลต่านไม่ได้ปฎิบัติต่อชาวคริสเตียนเหมือนเดิมทำให้พวกคริสเตียนในยุโรปโกรธมาก 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1095 พระสันตะปาปาออร์บานที่ 2 ได้ประกาศให้ทำสงครามกับพวกนอกศาสนาซึ่งก็คือชาวมุสลิม โดยพระสันตะปาปาได้ทำการปลุกระดมพวกคริสเตียนให้เข้าร่วมในสงครามทำให้พวกคริสเตียนจำนวนมากละทิ้งบ้านไปทำสงครามเพื่อที่จะปลดปล่อยชาวคริสต์ในนครเยรูซาเล็ม และได้รับชัยชนะสามารถยึดนครเยรูสาเล็มได้แต่ต่อมาเมื่อพวกคริสเตียนเลิกทัพกลับไป พวกมุสลิมก็กลับมารุกรานนครเยรูซาเล็มอีกและยึดบางเมืองของพวกคริสเตียนได้ โดยสงครามครูเสดเป็นการทำสงครามและการพักรบสลับกันไปเป็นช่วงๆ ทำให้สงครามยืดเยื้อต่อไปอีกหลายครั้ง 

สงครามครูเสดกินช่วงเวลากว่า 200 ปี จนยุติลงในปี ค.ศ. 1291 เมื่อพวกคริสเตียนถูกอียิปต์ยึดครอง ทำให้กองทัพจากยุโรปไม่สามารถเอาชนะพวกมุสลิมได้ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในสงครามครั้งนี้ได้แก่ พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษและซาลาดินของอิสลาม

สงครามครูเสดได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาของยุโรปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยด้านการเมืองมีผลทำให้ระบบฟิวดัลเสื่อมลงเนื่องจากขุนนางกับอัศวินผู้ดูแลแมเนอร์ต้องไปรบ ทำให้กษัตริย์มีอำนาจให้ที่ดินเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดรัฐชาติให้เวลาต่อมา ส่วนด้านเศรษฐกิจหลังสงครามยุติแล้ว พ่อค้าไม่สามรถติดต่อผ่านดินแดนกับพวกมุสลิมได้ ทำให้ต้องใช้เส้นทางทางทะเลอ้อมทวีปแอฟริกาไปยังเอเชียจนสำเร็จในปลายศตวรรษที่ 15 และสุดท้ายด้านสังคมสงครามครูเสดได้เปิดโลกทัศน์ของชาวยุโรป เกี่ยวกับความก้าวหน้าและเทคโนโลยีของชาวตะวันออก เช่น การใช้ดินปืน ซึ่งต่อมาชาวยุโรปได้พัฒนาเป็นอาวุธปืน 

การที่ชาวยุโรปได้มาพบปะแลกเปลี่ยนทัศนคติและองค์ความรู้ต่างๆต่อกัน ทำให้เกิดการหล่อหลอมทางความคิด ซึ่งเป็นรากฐานในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการในระยะต่อมา

อ้างอิง

ณัฐชยา นันตา, (2556). สงครามครูเสด. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2557, จาก http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/13/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%94-the-crusades-%E0%B8%84-%E0%B8%A8-1096-1291/

Social’ captain, (2553). อารยธรรมตะวันตกสมัยกลาง. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2557, จาก http://social-ave.blogspot.com/2010/03/blog-post_5241.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น