หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

7 ม.ค. 2557

มหาวิหาร (Cathedral)

โดย ธันยวัฒน์ แพรวงศ์นุกูล

ศิลปะในสมัยกลาง (Middle Age)  นั้น  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 จำพวกสำคัญๆ คือ 1.ศิลปะสมัยไบแซนไทน์ 2.ศิลปะสมัยกลาง  3.ศิลปะสมัยโกธิค  และศิลปะในแต่ละสมัยนั้นล้วนมีความสวยงาม มีคุณค่าทางสังคม มีเหตุผลในการสร้างสรรค์แตกต่างกันออกไป  และถ้าจะกล่าวถึงศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งของยุคกลางนี้ ก็ควรจะกล่าวถึงสถาปัตยกรรม Cathedral

มหาวิหาร (Cathedral) เป็นสถานที่สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นที่อ่านคัมภีร์ไบเบิล เป็นที่เทศนา เป็นที่ร้องเพลงสวด และเป็นที่สวดมนต์ของนักบวชและคริสต์ศาสนิกชน ความแตกต่างของมหาวิหารจากโบสถ์ธรรมดาคือสิ่งใดที่ทำในมหาวิหารจะใหญ่กว่าและมีกระบวนการมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดพิธีการสำคัญ ๆ ที่บาทหลวงเป็นผู้ประธานเช่น การโปรดศีลกำลัง หรือการบวช     นอกจากนั้นมหาวิหารยังเป็นสถานที่ทำพิธีที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นหรือรัฐบาลที่ไม่ใช่พิธีทางศาสนาโดยตรง เช่นการแต่งตั้งนายกเทศมนตรี หรือพิธีราชาภิเษก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของมหาวิหาร   ตัวอย่าง Cathedral เช่น

St. Stephen’s Cathedral  เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียงและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ Vienna มีอายุราว 800 ปี สร้างเสร็จปี 1160 โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์  และโกธิค โดยมีจุดเด่นของสถาปัตยกรรมภานอกอยู่ที่หลังคาโบสถ์ ซึ่งมีกระเบื้องสีชิ้นเล็กๆ มาต่อกันเป็นลวดลายเส้นซิกแซก ซึ่งศิลปะแบบนี้จะพบไม่บ่อยนักในโบสถ์โรมันคาทอลิกของยุโรป นอกจากนี้ St. Stephen’s Cathedral ยังมีหอคอยที่สูงถึง 136.7 เมตร    ส่วนสถาปัตยกรรมภายในนั้นจะสูงโปร่งตามสไตล์โบสถ์ทั่วๆ ไป ด้านในสุดจะเป็นแท่นสำหรับทำพิธี  และมีกระจกสีอยู่ด้านหลัง ส่วนพื้นนั้นจะเป็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมสีขาวและสีน้ำตาลสลับกันเป็นตารางค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์

สถาปัตยกรรม มหาวิหาร (Cathedral) เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญทางด้านศาสนาในยุคกลาง เป็นสถานที่ที่ให้คริสต์ศาสนิกชน นักบวชมาประกอบพิธีกรรมต่างๆ และมหาวิหารนั้นยังคงมีคุณค่าทางสังคมมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

อ้างอิง

สถาปัตยกรรมยุคกลาง. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2557 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรมมหาวิหารในยุโรบตะวันตก

St.Stephen’s Cathedral. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2557 จาก www.sasommile.com/destinations/austria/where-to-go/vienna/st-stephens-cathedral/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น