หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

8 ม.ค. 2557

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด

โดย อานุภาพ ขาวกุญชร

สงครามคือความศูนย์เสียที่มนุษย์ได้ก่อขึ้นมาเองโดยสาเหตุหลายประการณ์ สงครามในโลกของของเรามีมากมายหลายรูปแบบ ทำให้โลกนี้อยู่ยากมากขึ้นทุกทีประเด็นที่กระผมจะนำมากล่าวก็คือ สงครามทางศาสนาที่ถือว่ามีการรบราฆ่าฟันกันมาอย่างยาวนาน คือ สงครามครูเสด ที่จะนำมาก็คือจุดเริ่มต้นของสงครามนี้นะครับเพราะข้อมูลของสงครามครูเสด นั้นมากมายเหลือเกิน ดังนั้นกระผมจึงขอยกแค่จุดเริ่มนั้นก็พอแล้ว

เมื่อพวกซัลจู๊คเข้ามามีอำนาจในโลกอิสลาม ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ และอีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง

แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางฝ่าอันตรายไปยังโลกอิสลามคือ ความต้องการของชาวยุโรปในแต่ละระดับ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญตามอุดมคติของอัศวินที่ดี พวกทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนาสงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน 8 ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000 คน และสุดท้ายดินแดนศักดิ์สิทธิตกเป็นของมุสลิม

นี้คือจุดเริ่มต้นของสงครามอันยาวนานซึ่งมันทำให้ผู้คนล้มตายไปอย่างมากเพราะแค่การอยากได้ดินแดนของตนเองคืนจึงดึงเอาเชื่อของผู้คน มาเป็นกำลังทัพให้รบราฆ่าฟังพี่น้องบนแผ่นพื้นโลกเดียวกัน การทำสงครามมีแต่ก่อให้เกิดหายนะ ก็แค่คนๆเดียวก็สั่งให้คนโน้นคนนี้ไปตายได้ โลกเราก็ยังว่าละครับนับวันยิ่งอยู่ยากมากขึ้นทุกวัน ต่างคนต่างจะแย่งกันเป็นใหญ่จนไม่เคยมองดู เลยว่าผู้คนที่อยู่ข้างทุกข์มากเพียงใด หยุดการฆ่าฟันกันแล้วให้มารักกันดีกว่าครับ มาสร้างโลกให้น่าอยู่กันดีกว่า

อ้างอิง 

ภาสภัทร รักษาจันทร์.  มปป.  สงครามครูเสด.  เข้าถึงได้จาก: http://www.l3nr.org/posts/492073 . 7 มกราคม 2557.

กฤติพร จินะราช.นิศา เลาะวิถี.อมรประภา เนตรวงษ์.  มปป.  วิเคราะห์สงครามครูเสดโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์.   เข้าถึงได้จาก:  http://storou.blogspot.com/2012/08/blog-post.html . 7 มกราคม 2557.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น