หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

30 ม.ค. 2557

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ - ระยะคลาสสิก

โดย พัชรี หงษ์ทอง

อิตาลีในสมัยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14 หรือช่วงยุคเรเนสซองส์นั้น วัฒนธรรมในช่วงนี้ได้แตกต่างจากช่วงยุคกลาง คือเกิดค่านิยมตามหลักการนุษยนิยม ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูศิลปวิทยา ค่านิยมใหม่นี้เริ่มต้นและแพร่หลายไปรวดเร็วทั่วยุโรปเนื่องจากมีการคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ ทำให้ความรู้แพร่กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยานี้แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะคลาสสิค ระยะมนุษยนิยม และระยะศาสนา บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับระยะคลาสสิค หรือ ระยะที่ย้อนกลับไปสู่กรุงโรมที่มีความหลากหลายทางด้านศิลปะมากมาย

สมัยย้อนกลับไปหากรุงโรม สืบเนื่องจากโรมเคยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองของอิตาลี โดยมีรัฐผู้นำในการเริ่มต้นฟื้นฟูศิลปวิทยา คือเวนิสเพราะว่าเวนิสได้ติดต่อค้าขายทางทะเลมี มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้มาก มีการทุ่มเทด้านการค้าและอุตสาหกรรมทำให้เวนิสเป็นผู้นำในการฟื้นฟูศิลปวิทยาต่อมายังมีมิลานและฟลอเรนส์ที่พัฒนาตามมาด้วย (อัธยา โกมลกาญจน 2553,359-360)

การฟื้นฟูด้านวรรณคดีและแนวคิด มีดังเต้ที่สนับสนุนอำนาจประมุขแห่งชาติ ได้แต่งงานประพันธ์โดยใช้ภาษาท้องถิ่นมากกว่าที่จะใช้ภาษาละตินที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ ทำให้ดังเต้ได้รับยกย่องว่าเป็นยอดกวีแห่งอิตาลี ฟรานเซสโก ที่สนับสนุนลัทธิมนุษยนิยม ศึกษาจารึกกรีกและละตินและนิยมแต่งบทประพันธ์ประเภทแสดงอารมณ์ เพทราคที่เป็นคนแปลมหากาพย์อีเลียดเป็นภาษาละติน และเน้นศึกษาวรรณกรรมของโรมและละติน นิโคโล มาเคียวเวลลี เป็นนักฑูตและนักประวัติศาสตร์ที่เก่งกาจ ชาวเมืองฟลอเรนส์ (กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร 2528,198)

การฟื้นฟูทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ทางศิลปะเน้นการแสดงออกทางด้านศาสนา มีการเขียนภาพแบบ prespective เน้นรายละเอียดของภาพ และเน้นการแสดงออกทางความคิดของผู้เขียน เช่นลีโอนาโด ดาวินชีเป็นผู้สนับสนุน ความเป็นสากลมนุษย์ มีความสามารถทางด้านประติมากรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม กายวิภาคศาสตร์ สรีรศาสตร์ พืชพันธุ์วิทยาและคณิตศาสตร์ ไมเคิล แองเจโล เป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของโลกมีความสามารถทั้งทางด้านจิตรกรรมและประติมากรรม ราฟาเอล เป็นสถาปนิกในการก่อสร้างโบสภ์เซนส์ปีเตอขึ้นใหม่ในปี 1514 (อัธยา โกมลกาญจน 2553,363-365; กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร 2528,199)

การฟื้นฟูทางด้านดนตรี การเล่นพิณเป็นที่นิยมทั่วไปในอิตาลี มีการปรับปรุงออร์แกนเป่า ต่อมามีการนิยมเล่นเปียนโน ไวโอลินและทรัมโบน จนกระทั่งมีการนำเครื่องดนตรีหลายชินดมาเล่นรวมกันเป็นวง นักดนตรีที่โด่งดังคือ จีโอวันนี่ เดอ พาเลสตินา  ด้านการละคร นิยมเล่นเป็นภาษาพื้นเมือง โดยมีเค้าโครงเรื่องมาจากของกรีกและโรมัน นิยมแสดงแบบเน้นให้เห็นถึงชีวิตประจำวันของคนในสมัยนั้น และเมื่อมีผู้สนใจดูละครมากขึ้นจึงจัดตั้งโรงละครขึ้นมาแบบถาวรมีกำแพงล้อมรอบ (อัธยา โกมลกาญจน 2553,366-367)

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในระยะแรกที่หวนกลับไปศึกษาหาความรู้จากกรุงโรมที่เคยรุ่งเรืองก่อให้เกิด ศิลปวิทยามากมายที่ต่อยอดมาจากของโรม ประจวบเหมาะกับมีศิลปินสำคัญๆและมีเทคโนโลยีการพิมพ์เกิดขึ้นมากในยุคนี้ ทำให้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้เจริญรุดหน้าไปได้รวดเร็ว นับว่าเป็นรากฐานของการศึกษาศิลปวิทยาในปัจจุบัน

อ้างอิง

กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร. 2528,อารยธรรมตะวันตก.หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ :  เชียงใหม่.

ชอบ ดีสวนโคก. อารยธรรมโลก. ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัธยา โกมลกาญจน. 2553, อารยธรรมตะวันตก. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง:กรุงเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น