หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

1 พ.ค. 2558

ยาเพนนิซิลลิน : ความก้าวหน้าด้านการแพทย์ในยุคแห่งสงคราม

โดย ชนัตถ์ วัฒนานุสิทธิ์

แบคทีเรีย (Bacteria) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งภายนอกและในร่างกาย ซึ่งมี 3 ประเภทในการแบ่งคือ มีชีวิตในอุณหภูมิสูง กลาง และต่ำ โดยแบ่งได้ดังนี้ 1) แบคทีเรียประเภทแบคทีเรียประเภทไซโครฟิลส์ (Psychrophiles) เป็นแบคทีเรียที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ  0 ๐C หรือต่ำกว่า 0 ๐C  2) แบคทีเรียประเภทเมโซฟิลส์ (Mesophiles) เป็นแบคทีเรียที่สามารถเจริญเติบโตเจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 25 - 40 ๐C และ 3).เทอโมฟิฟิลส์ (Thermophiles) เติบโตได้ในอุณหภูมิ 45 - 60 ๐C

ซึ่งแบคทีเรียบางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ บางชนิดเป็นโทษต่อร่างกาย บางชนิดจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของมนุษย์เพื่อดำรงชีวิต และแบคทีเรียบางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย ก่อให้เกิดโรคและทำให้เสียชีวิตได้

ยาเพนนิซิลลิน คือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ยาออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตเช่น คน และ สัตว์ ยาเพนนิซิลลินจะไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แตกต่างจากยาชนิดอื่นที่จะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย หรือแพ้ยา

ในสมัยกลาง กาฬโรค ฆ่าชีวิตชาวยุโรปมากถึง 25 ล้านคน มากกว่าความสูญเสียจากสงครามครูเสดและสงครามร้อยปี หากในสมัยนั้นมียาเพนนิซิลลิน นอกจากจะสามารถควบคุมการแพร่กระจาย และรักษาโรคได้แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่ร้ายแรงถึงเพียงนี้

สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่มีการใช้ยุทโธปกรณ์ที่ก้าวล้ำและพัฒนามาก เช่น ปืนอัตโนมัติ ระเบิด รถถัง เรือรบ แก๊ส ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแรงระเบิด แผลที่เกิดจากการถูกยิง สะเก็ดระเบิด เป็นแผลทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้คนเสียชีวิตมาก แพทย์ในสมัยนั้นไม่สามารถหาวิธีรักษาได้


อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง .1938

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming) เป็นหนึ่งในแพทย์ที่พยายามรักษาและเยียวยาแผลที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนี้ ได้ทำการทดลองมากมายจนเมื่อปี 1928 เขาได้ทำการทดลองสำเร็จโดยบังเอิญจากการที่เขาลืมปิดฝาจานทดลอง ทำให้มีเชื้อราเข้าไปเติบโตในจานทดลองและเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปทำลายหรือเจริญเติบโตบนเชื้อรานี้ได้ เชื้อรานี้สายพันธุ์เพนนิซิเลียม (Penicillium notatum) หรือ “ราเขียว” โดยราชนิดนี้จะออกฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย

กล่าวคือ เมื่อแบคทีเรียเข้ามาเจริญเติบโตในร่างกายเซลแบคทีเรียจะอยู่ในร่างกายเพียงไม่นานก็จะแบ่งตัวใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆและเซลล์เดิมจะตายไปโดยการสร้างเซลล์แบคทีเรียใหม่นี้จะต้องมีการสร้างผนังเซลล์แต่เมื่อการสร้างผนังเซลล์ถูกตัวเชื้อราเพนิชนิซิเลียม ทำให้สร้างไม่ได้แล้ว เซลล์แบคทีเรียจึงค่อยๆลดจำนวนลงและหมดไปในที่สุด

หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1938 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ 2 คน คือ โฮวาร์ด ฟลอรีย์ (Howard Florey) และเอิรน์ บอริส เชน (Ernst Boris Chain) สามารถสกัดเพนนิซิเลียมให้รูปในรูปของผลึกที่มีความบริสุทธิ์และมีความเข้มข้นกว่าของเฟลมมิงทำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ยาเพนนิซิลลินได้ช่วยชีวิตคนได้มากมาย ทั้งขณะและหลังสงคราม ซึ่งนอกจากจะรักษาแผลจากการติดเชื้อแล้ว ยาเพนนิซิลลิน ยังสามารถรักษาโรคได้มากกว่า 80 ชนิด อาธิเช่น แอนแทรกซ์ คอตีบ ปอดอักเสบ บาดทะยัก เป็นต้น        


เชื้อราเพนนิซิลเลียม.2004

เป็นที่ทราบกันดีว่าสงครามคือการทำลายล้าง ก่อให้เกิดความสูญเสีย สงครามโลก โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดผู้เสียชีวิตมากถึง 40-70 ล้านคน แต่หากมองกลับกัน ข้อดีของการสงครามคือการพัฒนาสิ่งต่างๆ ด้านยุทโธปกรและการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต อาวุธ เรือดำน้ำ  และด้านการแพทย์ เช่น ยารักษาโรค การผ่าตัด ความก้าวหน้าทางการแพทย์ เป็นต้น มองในแง่ดีสงครามก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นประการหนึ่งให้เกิดพัฒนาการของสิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ เช่น ยาเพนนิซิลิน เป็นต้น

อ้างอิง

มาลินี อัศวดิษฐเลิศ. (2551). หน่วยบริหารจัดการความรู้,ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สืบค้นวันที่ 28 เมษายน 2558, จาก http://vcharkarn.com/varticle/35929

พนัส เฉลิมแสนยากร. (2553). แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection), พยาธิแพทย์, สืบค้นวันที่ 28 เมษายน 2558, จาก http://bit.ly/1QPhaed

ดวงใจ สุขอึ้ง. (2551). สงครามโลกระหว่างค..1914-1945Lessons from the two world wars,บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, สืบค้นวันที่ 28 เมษายน 2558, จาก http://www.sb.ac.th/www_war/index.html