หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

6 มี.ค. 2557

มงแต็สกีเยอ (Montesquieu)

โดย ณัฐรณ ชาวบ้านตาด

หากจะกล่าวถึงอำนาจสูงสุดซึ่งเป็นหลักสากลที่ใช้ในการปกครองรัฐอำนาจนั้นคือ   อำนาจอธิปไตย อันหมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ โดยอำนาจอธิปไตยนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง โดยหลักสากล รัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และ  อำนาจตุลาการ ทั้งนี้ อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ และผู้ซึ่งให้กำเนิดแนวคิดนี้ก็คือ มงแต็สกีเยอ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)

โดย ชยางกูร วรรักษา

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"

โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

โดย ภัทรนิศวร์ จันทราธนสิทธิ์

โธมัส เจฟเฟอร์สัน  เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา และเป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนหนึ่ง ในฐานะประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สันทำให้อำนาจของรัฐบาลเข้มแข็ง เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองในการควบคุมรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา

ศิลปะแบบรอคโคโค (Rococo)

โดย ปิยาภรณ์ เหล่าเกียรติชัย

ศิลปะแบบรอคโคโคพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 แบบของโรโคโคจะเป็นเอกภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องประดับจะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกันคือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมาภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอยภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนังที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก ซึ่งประวัติความเป็นมาสามารถสรุปได้ ดังนี้

ชนชั้นในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค

โดย ชวพล จึงสมาน

ในยุคที่ศาสนจักรมีบทบาทอย่างมาก ทั้งในเรื่องอิทธิพลต่อจิตใจคน การเมือง การปกครอง หรือแม้กระทั่งเศรษกิจ ซึ่งศาสนจักรนั้นหมายถึงศาสนาคริสต์ โดยในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคมีการแบ่งชนชั้นการปกครองดังนี้

เอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism)

โดย ชวพล จึงสมาน

ในยุคสมัยใหม่มีลัทธิทางศิลปะเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งลัทธิต่างๆอาจจะเกิดจากวิถีชีวิตของคนในสังคม การเมือง อารมณ์ต่าง โดยมีหลายลัทธิที่เป็นลัทธิที่แสดงออกถึงสภาพความจริงของสังคม หนึ่งในลัทธิที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคม คือ เอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism)

มหาวิทยาลัยในยุคกลาง

โดย นัฐฐิกรณ์ พันธุ์ยุรา

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยของสมัยกลางในช่วงต้นนั้น มุ่งเน้นไปที่การศึกษาทางด้านเทววิทยา โดยใช้โบสถ์ของศาสนาคริสต์เป็นสถานศึกษา ต่อมามีการจัดตั้งสถานศึกษาที่แยกออกจากโบสถ์ขึ้นในอิตาลี เพื่อเพิ่มพูนวิชาความรู้ให้แก่ผู้ที่เตรียมตัวเป็นพระให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการกลายเป็นมหาวิทยาลัย

พระแม่มารีแห่งภูผา (Virgin of the Rocks)

โดย นัฐฐิกรณ์ พันธุ์ยุรา

ในยุคกลาง ศิลปกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์โดยเฉพาะ ทำให้ศิลปิน ไม่สามารถถ่ายทอดจินตนาการออกมาอย่างเสรีได้ ผลงานส่วนใหญ่จึงขาดชีวิตชีวา แต่ศิลปกรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น ศิลปินนิยมใช้รูปแบบงานศิลปะของทางกรีก-โรมันซึ่งมีความเป็นธรรมชาติ  และความสวยงามในร่างกายของมนุษย์ มิติของภาพ สีสัน และแสงเงาในงานประติมากรรมล้วนทำให้มีความสมจริง

ลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism)

โดย พรเพ็ญ กงศรี

ลัทธิปัจเจกนิยมเป็นลัทธิทางสังคมที่เกิดขึ้นในยุคกลาง ลัทธิปัจเจกนิยมจะเชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือโชคชะตาและยังเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

วิทยาการการพิมพ์ ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

โดย วิภารัตน์ มนัสสา

ถ้าจะกล่าวถึงการพิมพ์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างได้มากขึ้น รู้หนังสือมากขึ้น การพิมพ์ได้มีมาตั้งแต่ในสมัยอารยธรรมโบราณ ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดลวดลายตัวอักษร เรียกว่าอักษรลิ่ม ต่อมาได้มีการพัฒนามาเรื่อย และมีชาวจีนได้คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและพิมพ์

5 มี.ค. 2557

กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)

โดย ภาวิณี ยะลาเร้  

 ลีโอนาโด ดาร์วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี เขามีความคิดว่าการวาดภาพนั้นไม่ควรแสดงเพียงความเหมือนต้นแบบ แต่ควรแสดงอารมณ์ และความรู้สึกลึกๆ ในจิตใจของผู้ถูกวาดด้วย เขาจึงคิดว่า การวาดภาพอวัยวะที่เห็นจากภายนอกมันยังไม่พอ ยังต้องมีความรู้ถึงการทำงานของมันด้วยจึงทำให้ต้องผ่าชำแหละเพื่อดูเนื้อข้างในอย่างละเอียด

องค์การการค้าโลก หรือ WTO (World Trade Organization)

โดย ธนกฤฒย์ บุญอนันต์

องค์การการค้าโลก หรือที่เรียกๆกันในระดับสากลว่า WTO (World Trade Organization) องค์การนี้เป็นองค์การนี่สังกัดขึ้นตรงกับองค์การสหประชาชาติหรือ UN

กระบวนการของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

โดย วิชุดา พรพยุหะ

กระบวนการของการฟื้นฟูศิลปวิทยการนั้นเริ่มต้นด้วยความสนใจ ตื่นตัวที่จะศึกษาภาษาโบราณต่างๆ ได้แก่ กรีก ละติน และฮิบรู บรรดาพวกนักมนุษยศาสตร์ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนยุโรปหันมาสนใจภาษาโบราณแล้วยังกระตุ้นให้พวกเขาได้สนใจในภาษาท้องถิ่นของตัวเองด้วย มีการคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ชนิดแท่นเคลื่อนที่ได้ (movable type) โดยนักคิดชาวเยอรมันชื่อ โยฮัน กูเตนเบอร์ก เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ พิมพ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ความรู้ทางศิลปะวิทยาการต่างๆเผยแพร่ออกไปได้อย่างรวดเร็ว

ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel)

โดย พิณยดา  ทองรักษ์

โบสถ์น้อยซิสทีน เป็นโบสถ์น้อยภายในพระราชวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน โบสถ์น้อยซิสทีนมึชื่อเสียงในทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสถานที่ที่ทำให้ระลึกถึงพระวิหารของพระเจ้าโซโลมอนในพันธสัญญาเดิม, การตกแต่ง, จิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยารวมทั้งมีเกลันเจโลผู้วาดเพดานของโบสถ์จนที่เป็นที่เลื่องลือ และสุดท้ายคือความสำคัญในการเป็นสถานที่ทำการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่

พระราชวังแวร์ซายน์ (Château de Versailles)

โดย ณัฐนิชา หลิมบุญงาม

เมื่อกล่าวถึงสิ่งก่อสร้างที่หรูหรา และงดงาม หลายคนคงนึกถึง พระราชวังแวร์ซายส์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยที่สุดก็ว่าได้ ด้วยความที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความเป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงศิลปะในยุคที่ก่อสร้างขึ้นได้อย่างชัดเจน จึงมีความงดงามที่ทำให้ผู้เยี่ยมชม มีความตราตึงใจในสถานที่แห่งนี้และพระราชวังแวร์ซายส์ยังเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกปัจจุบันอีกด้วย


ภาพวาดโมนาลิซา (Mona Lisa)

โดย นัยนา ตั้งดำรงวัฒน์

หนึ่งในภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่สุดโลก ที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะไปเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้ง ภาพหญิงสาวที่มีรอยยิ้มลึกลับ น่าค้นหา เป็นที่ดึงดูดใจของผู้คน จะเป็นภาพใดไม่ได้นอกจาก ภาพโมนาลิซา ผลงานชิ้นเอกของ ลีโอนาร์โด ดา วินชี

สงคราม 30 ปี (Thirty years war)

โดย สุรเกียรติ เสริมศิริกาญจนา

สงคราม สามสิบปี เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายที่นิยมจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งนับถือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับฝ่ายที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งสงครามครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ช่วงและแต่ละช่วงมีความหมายของสงครามต่างกันออกไป กล่าวคือ ในช่วงแรกของสงคราม เป็นเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างรัฐต่างๆในเยอรมันอย่างชัดเจน แต่ทว่าช่วงที่ 2 3 และ 4 ของสงครามกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ 4 ฝรั่งเศสที่เป็นนับถือนิกายโรมันคาทอลิกเข้าร่วมสงครามในฐานะผู้สนับสนุนฝ่ายโปรเตสแตนท์ จึงจะเห็นได้ว่าสงครามสามสิบปีไม่ได้มีแค่เรื่องความขัดแย้งทางศาสนาแต่ยังโยงใยไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

Perspective ในงานด้านจิตรกรรม

โดย กรธนัท ศุภภะ

รูปแบบในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมในช่วงยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการมักจะมีรูปแบบที่แสดงออกถึงความงามตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติและการวาดรูปคนมักจะสนใจความงามของทรวดทรง กล้ามเนื้อ และการแสดงท่าทาง มีการเขียนภาพและแกะสลักภาพเปลือย แสดงสัดส่วนทางกายวิภาคอย่างกว้างขวาง และที่โดดเด่นคือการสร้างสรรค์ผลงานแบบ perspective ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานในแบบที่ให้ความรู้สึกใกล้ไกลด้วยเส้นเพียงตา

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO)

โดย อรปรียา กัญญาภู      

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือที่เราเรียกกันว่า  นาโต (NATO) นั้น เมื่อมีความไม่สงบเกิดขึ้นในแถบแอตแลนติกเหนือ องค์การ NATO นี้จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้ง องค์การ NATO นี้คืออะไร จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และมีประเทศใดบ้างที่เข้าร่วม ดังต่อไป

เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)

โดย อภิวรรณ บุญเทศ

ยุคเรอเนซองส์  ไม่ใช่เฉพาะศิลปะเท่านั้นมีความความเจริญรุ่งเรืองแต่ยังเป็นที่บ่มเพาะให้ วิทยาศาสตร์เป็นศาตร์ที่สร้างความเจริญให้โลกในยุคปัจจุบันอีกด้วย เนื่องจากเป็นช่วงระยะที่ เซอร์ไอแซกนิวตัน พบกฏแรงโน้มถ่วงจากการตกของผลแอปเปิ้ล

ธีโอดอร์ เจริโคลต์ (Theodore Gericault)

โดย ธีร์วรา วีรวุฒิไกร

ศิลปะแบบจินตนิยม (Romanticism) มีทรรศนคติที่ต้องการความเป็นอิสระในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าเดินตามกฏเกณฑ์และแบบแผนทางศิลปะ

สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (The Treaty of Versailles)

โดย เนติกร  สุทธิประภา

เป็นสนธิสัญญาสันติภาพ ที่ทำขึ้น ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ข้อตกลงสงบศึกได้ถูกลงนามในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศเยอรมันยังต้องใช้เวลาหลังจากนั้นถึงกว่าครึ่งปี จึงจะสามารถตกลงกันและยุติสภาวะสงครามอย่างเป็นทางการได้

ดินปืน (Gunpowder)

โดย เนติกร  สุทธิประภา

ดินปืน มหันตภัยอาวุธที่นำมาซึ่งจุดจบของยุคอัศวิน  ดินปืนได้ถูกนำมาใช้และพัฒนาไปในช่วงสมัยกลางตอนปลาย(Late Middle Age 1300-1500)ของยุโรป เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของระบบฟิวดันสู่ยุคสมัยใหม่

3 มี.ค. 2557

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

โดย ภานุพงศ์ เกียรติผดุงพงศ์

UNESCO เป็นองค์กรที่มีชื่อคุ้นหู ว่าเป็นองค์กรที่คัดเลือกสถานที่ให้เป็นมกดกโลก อย่างเช่น การขึ้นประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกก็มี UNESCO มาเกี่ยวข้อง แต่ที่แท้จริงแล้ว UNESCO คืออะไรเป็นองค์กรที่ทำเกี่ยวกับอะไร ประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร เราลองมาดูรายละเอียดกัน